รับข่าวสารของสมาพันธ์ฯ !
สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
ผู้ชมวันนี้ |
คน |
|
ผู้ชมเดือนนี้ |
คน |
|
ผู้ชมทั้งหมด |
คน |
|
|
|
ภารกิจติดอาวุธให้ "เมียฝรั่ง"
ทุกวันนี้ มีคนไทยแต่งงานกับคนต่างชาติหลายแสนคน ส่วนใหญ่เป็นหญิงไทยแต่งงานกับชายต่างชาติ แล้วหอบความหวังบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่ต่างประเทศ และจำนวนหนึ่งที่นำสามีกลับมาอยู่กินในเมืองไทย ที่น่าสนใจคือคู่รักข้ามวัฒนธรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการครองคู่ ขณะที่บางส่วนล้มเหลว!!!
ด้วยต้องการเสริมความแกร่งให้สาวไทย กรมการกงสุล จึงอาสาเป็นแม่งานเปิดโต๊ะเสวนาเรื่อง "แต่งงานกับคนต่างชาติ ดีจริงหรือ" เพื่อเป็นเวทีให้คนไทยที่คิดหรือได้แต่งงานกับคนต่างชาติแล้ว ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตในต่างแดนอย่างเหมาะสม รวมทั้งได้ทราบถึงสิทธิพื้นฐานในต่างประเทศและสิทธิในประเทศไทยของตัวเอง คู่สมรสต่างชาติ และบุตร และที่สำคัญเพื่อให้ทราบถึงการบริการ และการให้ความคุ้มครองดูแลคนไทยของกระทรวงต่างประเทศที่มีต่อคนไทยในต่างประเทศ
จุดประเด็นเสวนาโดย สมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการแรงงาน และสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ที่เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาวไทยแต่งงานกับฝรั่ง โดยเฉพาะในจังหวัดอุดรธานีมีคู่สมรส หรือ "เมียฝรั่ง" มากที่สุดในประเทศ ว่าอุดรธานีเป็นสังคมนานาชาติถึง 33 ชาติ ข้อมูลล่าสุดพบว่ามีคู่รักหญิงไทยกับต่างชาติถึง 5,700 คู่ ในจำนวนนี้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้อง 3,200 คู่ ที่เหลือทดลองอยู่ด้วยกัน ซึ่งมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว
"การเลือกคู่ครองต่างชาติมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะความคับข้องใจที่สามีคนไทยมักไปทำงานต่างถิ่น หรือไม่เอาถ่าน รวมถึงความลำบากยากเข็ญ จึงต้องแสวงหาโอกาสกับคู่ครองต่างชาติ ที่ได้รับความนิยมก็อย่างเยอรมนี อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ทำให้ถูกเรียกว่าเมียเช่า เมียเก็บ แย่สุดก็โสเภณี ที่น่าสนใจคือหลายคนแต่งงานมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งในสังคมฝรั่งก็มีทั้งคนดีและไม่ดี จึงต้องเลือกให้เป็น มีมากที่ฝรั่งตั้งใจหลอกเรา และเราก็ตั้งใจหลอกฝรั่ง จากข้อมูลสามีฝรั่งเศสจะงกที่สุด สามีเยอรมันจ่ายไม่อั้น พวกกลางๆ คือกลุ่มสแกนดิเนเวีย" นักวิชาการอิสระเผย
ด้าน ผศ.ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น สนใจเรื่องการย้ายถิ่นของคนไทยไปต่างประเทศ อย่างอุดรธานีจะเห็นภาพชัดเจนที่สุด ตอนแรกเป็นเรื่องของความรัก แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว มีหลายช่องทางของการแสวงหาสามีต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นผ่านการสมัครงาน, เพื่อนๆ แนะนำ, ผ่านบริษัทจัดหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต, ผ่านอาชีพที่มีโอกาสพบชาวต่างชาติอย่างพนักงานนวดต่างๆ เป็นต้น โดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ตตอนนี้พบได้ง่ายที่สุด ถึงขั้นมีการเจรจาเรียกค่าสินสอดทองหมั้นกันเลย
บางคนมีสามีต่างชาติถึง 3 ชาติ แล้วเกิดลูกครึ่งคนละพ่อ 3 คน บางคนพอชีวิตล้มเหลวก็ไม่อยากกลับเมืองไทยเพราะกลัวขายหน้า เพราะการแต่งงานกับต่างชาติในอดีตจะให้ความสำคัญกับการสร้างเนื้อสร้างตัว คนที่แต่งงานโดยไม่เตรียมใจว่าจะไปเจอปัญหาจึงล้มเหลวเพราะแก้ปัญหาไม่ได้ อีกอย่างคือความแตกต่างด้านวัฒนธรรม หรือ "ปรากฏการณ์ข้ามวัฒนธรรม" หรือ แม่ผัวฝรั่งไม่ยอมรับลูกสะใภ้คนไทย รวมถึงไปต่างประเทศโดยไม่ได้เตรียมข้อมูลเรื่องแหล่งช่วยเหลือ คนที่บ้านก็ไม่รู้จักแหล่งนั้นด้วย" ผศ.ดร.ดุษฎีกล่าว
มีทั้งโชคดีและโชคร้ายสำหรับสาวไทยกับสามีชาวต่างชาติ ตัวอย่างสมรักสมรส คือ "ตุ๊กตา" ลัดดา กิ๊บสัน ช่างเสริมสวยที่อยากเปิดโลกทัศน์ไปร่ำเรียนวิชาเสริมสวยที่ต่างประเทศ โดยพบรักกับ มาร์ค กิ๊บสัน สามีชาวอังกฤษผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่ง 2 ปีที่ใช้ชีวิตคู่มีปัญหาเรื่องการปรับตัวอยู่บ้างแต่ก็ราบรื่นดี ปัจจุบันเธอและสามีย้ายกลับมาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยและชีวิตคู่กำลังไปได้สวย
ตรงข้ามกับ กนกรัตน์ นิ่มสมุทร บูธ ซึ่งมีสามีเป็นชาวอังกฤษ แรกๆ ก็ราบรื่นดี แต่พักหลังมาเริ่มระหองระแหง จนถึงขั้นฟ้องหย่ากันข้ามประเทศ และเสียเปรียบจากข้อกฎหมายของประเทศนั้น ที่แย่ที่สุดคือเจอประสบการณ์เลวร้ายถูกเหยียดหยามชาติพันธุ์ ซึ่งขณะนี้คดีความก็ยังไม่ถึงที่สุด ปัจจุบันเธอนำประสบการณ์ชีวิตด้านร้ายมาเตือนใจให้เพื่อนหญิง และยังเป็นประธานสมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทยอีกด้วย www.thaiforeignspouse.com
สาวไทยที่ไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาเมื่อไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ก็เหมือน "หัวเดียวกระเทียมลีบ" แต่ปัญหาจะคลี่คลายได้ถ้ารู้ช่องทางขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผอ.กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถิติล่าสุดพบว่ามีหญิงไทยกว่า 2 แสนคน ที่แต่งงานกับต่างชาติแล้วไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ อาทิ เยอรมนี 5 หมื่นราย ฝรั่งเศส 3 หมื่นราย สหรัฐอเมริกา 2 หมื่นราย ออสเตรเลีย อังกฤษ สวีเดน รวมถึงไต้หวันกว่า 7 พันราย
"ปัญหาที่พบรวมถึงอยากจะแนะนำคือ คนเยอรมัน ปัญหาส่วนใหญ่คือเรื่องการสื่อสารเพราะใช้ภาษาดอยซ์ รวมถึงวัฒนธรรม เช่นเดียวกับฝรั่งเศส หลายคนถูกทอดทิ้งเพราะสื่อสารไม่เข้าใจ ขณะที่อเมริกามีปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ออสเตรเลีย มีปัญหาเรื่องภาษา และคาดหวังว่าภรรยาจะมีส่วนช่วยทำมาหากิน พอพึ่งเขาอย่างเดียวจึงถูกกดขี่ เหมือนคนอังกฤษที่ชอบให้เมียทำงาน จึงควรมีความรู้ติดตัวบ้าง ส่วนสวีเดนมีปัญหาการหย่าร้าง 2 ปีแรกมากที่สุด และไต้หวันมีปัญหาเรื่องสมรสอำพรางเพื่ออยากเข้าไปทำงาน เป็นต้น จึงอยากเน้นว่าต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษา เรียนรู้วัฒนธรรม และใช้เวลาศึกษาดูใจกันให้นานก่อนตกลงแต่งงาน ที่สำคัญใช้ความรักเป็นพื้นฐานน่าจะดีที่สุด และพึงระลึกเสมอว่าเวลามีปัญหาที่ต่างประเทศ กรมการกงสุลช่วยได้ ออกค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาให้ แต่ต้องเซ็นสัญญารับสภาพหนี้เมื่อกลับถึงเมืองไทย แล้วการออกวีซ่าให้ไปต่างประเทศอีกก็จะยากขึ้น" ผอ.กองคุ้มครองฯ แนะ
การแต่งงานเป็นเรื่องอิสรเสรีก็จริง แต่ต้องเตรียมพร้อม รู้เท่าทัน ที่จะเผชิญกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ก็เหมือนกับถ้ามีอาวุธพร้อมรบก็ยากที่จะเพลี่ยงพล้ำ....
จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันศุกร์ที่ 26 พ.ย. 2553
|
|
ศูนย์ประชาบดี โทร 1300 |
|
ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วย เหลือสังคม โทร 0-2306-8951-2 |
|
ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยสังคม โทร 0-2306-8934-5 |
|
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้า มนุษย์ โทร 0-2642-7991-2 ต่อ 11 |
|
สหทัยมูลนิธิโทร 0-2381-8834-6, 0-2392-9397-8 |
|
สมาคมวางแผนครอบครัว โทร 0-2245-7382-5 |
|
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน โทร 0-2229-5803-7 |
|
คลินิกชุมชนเวชกรรม (ปรึกษาคลินิก หมอมีชัย) โทร 0-2229-4611-28 |
|
สมาคมเสริมสร้างครอบครัว โทร 1761, 0-2622-2220 |
|
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โทร 1111 |
|
ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ โทร 1548 |
|
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบ รัฐบาล โทร 1376 |
|
ร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา โทร 1676 |
|
สายด่วนนายกรัฐมนตรี โทร 0-2280-3000 |
|
ศูนย์บริการข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม โทร 1765 |
|
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย โทร 1567 |
|
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) โทร 0-2287-3102 |
|
|
กระทรวงมหาดไทย |
|
|
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
|
|
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ |
|
|
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
|
|
กระทรวงการต่างประเทศ |
|
|
กระทรวงศึกษาธิการ |
|
|
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
|
|