FEDERATION OF THAI AND FOREIGN SPOUSE NETWORKS ASSOCIATION OF THAILAND

หน้าแรก | แนะนำสมาพันธ์ | ข้อบังคับสมาพันธ์ | ข่าวสารและกิจกรรม | ชมรมและเครือข่าย | ติดต่อสมาพันธ์

User Login
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

     แนะนำสมาพันธ์ฯ
     ข้อบังคับสมาพันธ์ฯ
     ข่าวสารและกิจกรรม
     บทความและสาระน่ารู้
     ดาวน์โหลดเอกสาร
     ชมรมและเครือข่าย
     ติดต่อสมาพันธ์ฯ

รับข่าวสารของสมาพันธ์ฯ !
     เพียงกรอกอีเมล์ของท่านไว้ทางเรา จะจัดส่งข่าวสารต่างๆของสมาพันธ์ฯให้ ท่านทางอีเมล์

สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
  ผู้ชมวันนี้ 3 คน  
  ผู้ชมเดือนนี้ 86 คน  
  ผู้ชมทั้งหมด 43991 คน  
บทนำสมาพันธ์ฯ



          

รู้เขา รู้เรา เข้าใจ พัฒนา..ก้าวสู่ครอบครัวเป็นสุขอย่างยั่งยืน

          ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีคนไทยทั้งชายและหญิงถูกหลอกลวงโดยคนต่างชาติเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยกลอุบายในการหลอกลวง ได้พัฒนาการให้คนไทยหลงเชื่อและไว้วางใจอย่างปราศจากข้อสงสัยและง่ายต่อการกระทำความผิด ด้วยการพยายามทำตัวให้ใกล้ชิดสนิทสนมเสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของคนในครอบครัว บางขบวนการคิดแผนการยาวไกล ยอมแม้กระทั่ง “แต่งงาน” กับคนไทย แต่ทั้งนี้เพียงเพื่อเป็นการบังหน้า และเพื่อให้ง่ายต่อการกระทำสิ่งที่ผิดกฎหมายเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบค้ายาเสพติด ค้าแรงงานเถื่อน ค้าประเวณี รวมไปถึงอาชญากรรมค้ามนุษย์ข้ามชาติ

          ปัญหาเรื่อง “คนไทย” ถูกหลอกลวงจากคน “ต่างชาติ” ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาที่ “ฝังรากลึก” มาช้านาน จนดูเหมือนว่าจะกลายเป็น “เรื่องธรรมดา” ไปเสียแล้ว เพราะ “ความจริง” ที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ รู้ว่าเขาหลอก แต่ก็เต็มใจให้เขาหลอก

          เพราะ “ค่านิยม” ในการแต่งงานกับคนต่างชาติของหญิงไทยนั้น เป็น “ปัจจัยสำคัญ” และถือได้ว่าเป็น “รากแก้ว” แห่ง “ปัญหา” อย่างแท้จริง

          ค่านิยม ส่วนใหญ่ที่ทำให้สาวไทยมักเลือกแต่งงานกับชายชาวต่างชาติ เพราะเชื่อว่าคนต่างชาติ “ร่ำรวย” มีเงินมีทอง สามารถให้ความมั่นคงแก่ตนเองและครอบครัวได้นั้น ถูกปลูกฝังรากลึกมายาวนาน แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า การจะทำให้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันอย่างยืดยาวและมีความสุขได้นั้น จุดเริ่มต้นต้องมาจาก “ความรัก”  ที่สำคัญต้องมีความพร้อมในเรื่องของ “ภาษา” เป็นองค์ประกอบด้วย 

แต่งงานกับชายต่างชาติ ดีจริงหรือ?

          จากการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งปัจจุบันนี้ยังเป็นยุคแห่งการเคลื่อนย้ายคนโดยเสรี จนดูเหมือนว่าโลกไม่มีพรหมแดนปิดกั้นระหว่างประเทศ ทำให้มี “คนไทย” ที่ทำการ “สมรส” กับ “ชาวต่างชาติ” ทั้งในประเทศและในต่างประเทศเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคนไทยเหล่านั้นมักประสบกับปัญหาทางกฎหมายอยู่เสมอ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับ Human Right

          จากการสำรวจกรณีการแต่งงานของคนไทย ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้หญิงไทยแต่งงานกับคนต่างชาติ ได้แก่ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ และ ภาระหนี้สินทางครอบครัว ซึ่งครอบครัวทางเมืองไทยส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเมื่อหญิงไทยได้แต่งงานและไปอยู่กินกับสามีในต่างประเทศแล้วจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีเงินมีทองใช้จ่ายมากมาย จึงคาดหวังว่า “หญิงไทย” เหล่านั้น จะสามารถส่งเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวที่เมืองไทยให้อยู่อย่างสุขสบายได้เช่นกัน จนถึงขนาดมีการแข่งขันกัน ด้วยการโชว์ถึงความ “ร่ำรวย” ด้วยการสร้างบ้านหลังใหญ่ ๆ โต ๆ ให้พ่อแม่

          เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้หญิงไทยเลือกที่จะมีชีวิตคู่เป็นคนต่างชาติ ก็คือ ปัญหาความล้มเหลวของการใช้ชีวิตคู่กับชายไทย ทำให้สาวไทยที่มี “อดีต” อันไม่สวยงามและต้องการที่จะ “สร้างชีวิตใหม่” โดยเฉพาะ “สาวขายบริการ” ที่คิดว่าการสร้างครอบครัวใหม่กับคนต่างชาติจะได้รับการ “ยอมรับ” และมี “โอกาส” มากกว่า สุดท้ายคือ “การเลียนแบบ” จนกลายเป็นการสร้าง “ค่านิยม” ไปในทางที่ผิด

          ส่วนปัญหาหลักของ “คนไทย” ที่ “แต่งงาน” กับ “ชาวต่างชาติ” แล้วมีปัญหาภายหลังที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด ก็คือเรื่องของ ภาษา

          ภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ใช้ในแต่ละประเทศของคู่สมรส ที่ “คนไทย” ไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างลึกซึ้ง จนเกิดความเหงา ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อมใหม่ไม่ได้

          ดังนั้นหากคุณคิดที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ จึงอยากให้คุณสมรสกันด้วย “ความรัก” และมีการ “เตรียมพร้อม” ในเรื่องของ “ภาษา” ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดประตูในการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาตินั้นๆ

          การปรับตัว “หลังสมรสกับชาวต่างชาติ” จึงเป็นเรื่องที่ “จำเป็น” อย่างที่สุด เพราะการแต่งงานจะมีความสุขหรือล้มเหลวอยู่ที่การจัดการของตัวคุณเอง

          และข้อเท็จจริงในเรื่องของ การแต่งงาน ก็คือ ไม่ว่าคุณจะแต่งงานกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ ก็ไม่ได้มีอะไร “แตกต่าง” กันเลย เพราะทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ล้วนมีทั้ง “คนดี” และ “คนไม่ดี” ในทุกสังคม ดังนั้นความสุขของชีวิตแต่งงานจึงอยู่ที่ความรัก และความเชื่อใจกัน ส่วนเรื่องเงินทองจะมีมากมีน้อยเพียงใด ก็อย่าเอาคู่ของเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

          และการที่จะผูกใจสามีและครอบครัวของสามีได้นั้น อยากแนะนำให้ยึดเอาตามวัฒนธรรมไทยเรา ที่ดูแลพ่อแม่สามีเหมือนพ่อแม่ตนเอง

          จากสถิติของหญิงไทยที่นิยมแต่งงานกับชายชาวต่างชาติมากที่สุดคือ หญิงสาวจากจังหวัดทางภาคอีสาน อาทิ ชาวจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี

          เรื่องของคนไทยที่แต่งงานกับคนต่างชาติแล้วเดินทางไปอาศัยอยู่กับสามีหรือภรรยาของตัวเองในต่างประเทศ โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองบ้าง เพราะไม่เคย “เตรียมตัว” หรือ “เรียนรู้” มาก่อนเลยว่า ตัวเองจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรให้เข้ากับ “กฎหมาย” ของประเทศนั้น ๆ  รวมถึงการ “ปรับตัว” ให้เข้ากับ “สังคม “ และ “วัฒนธรรม” ความเป็นอยู่ของผู้คนที่นั่น กล่าวคือ ไม่เคยรับรู้และเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเองในฐานะคู่สมรสอย่างแท้จริง 

          ดังนั้นแนวความคิดที่ว่า เราน่าจะแก้ไขปัญหาที่ “ต้นทาง” คือ ประเทศไทย โดยการเข้าไปอบรมให้ “ความรู้” ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของพวกเขา เพื่อเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางกฎหมายไม่ว่าเพศหญิงหรือชาย คนจนหรือคนรวย และ “ขจัด” การถูกเอารัดเอาเปรียบจากความ “ไม่รู้” กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “กฎหมาย” ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของแต่ละประเทศ (Immigration Law), กฎหมายครอบครัว (Family Law), กฎหมายการแต่งงาน (Marriage Law), กฎหมายการหย่าร้าง (Divorce Law) ฯลฯ เป็นต้น

          ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” เหตุแห่งปัญหาอย่างแท้จริงและยั่งยืน.

          จากผลกระทบในเชิงลบของ “การพัฒนาที่มุ่งเน้นความทันสมัย” และการเป็น “อุตสาหกรรม” ที่มีต่อประเทศที่ “กำลังพัฒนา” ในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้ “องค์กรระหว่างประเทศ” ที่เป็นแกนนำในการผลักดันความคิดการพัฒนา อย่างเช่น องค์การสหประชาชาติ(UN) ธนาคารโลก(World Bank) และองค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) เป็นต้น ต้อง “ทบทวน” แนวคิดการพัฒนาแบบเดิม และ “ได้สร้าง” แนวคิดการพัฒนาแบบใหม่ ที่ “มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต” ขึ้นมา พร้อมกับสร้างเครื่องมือในการชี้วัดทางสังคมเพื่อใช้ในการวัดระดับปัญหาและการพัฒนาของประเทศต่างๆ

          ถัดจากนั้นแนวคิดเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงได้รับการนำไปศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆและมีการพัฒนาสืบเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
          รากฐานความคิดคุณภาพชีวิต เป็นแนวคิดที่มีข้อถกเถียงทางทฤษฎีค่อนข้างสูง มีการตีความและอธิบายกันอย่างหลากหลายทั้งจากนักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ของ แต่ละประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดนี้มีความคลุมเครือสูง

          กล่าวคือในด้านหนึ่งคุณภาพชีวิต สะท้อนระดับความอยู่ดีเป็นสุขของปัจเจกบุคคล แต่อีกด้านหนึ่งอาจมีนัยที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อระดับความอยู่ดีเป็นสุขด้วยเช่นเดียวกัน

          อย่างไรก็ตามแม้ว่าการนิยามความหมาย การวัด และการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ยากที่จะหาข้อตกลงร่วมกันได้ แต่การประกาศพันธะสัญญาร่วมกันของประเทศต่างๆ ในการพัฒนาที่มีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิต กลับได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

          ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ “พัฒนาค่านิยม” และ “จิตสำนึก” ที่เหมาะสมกับสังคมไทย ทาง “สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทย” จึงขอเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารและอบรมส่งเสริมการให้ “ความรู้ในเรื่องของกฎหมาย” แก่ “ครอบครัว” ของคนไทยที่มีคู่สมรสต่างชาติ อาทิ กฎหมายการพักอาศัยและเข้า-ออกประเทศ(กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง) ของประเทศไทย และของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก การยื่นขอหลักฐานต่างๆ และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องรอบตัว ทั้งเรื่องของการสมรส  การหย่าร้าง การฟ้องร้องสิทธิ์ในการดูแลบุตรและกฎหมายมรดก เป็นต้น รวมถึงการเข้าไปร่วมจัด “กิจกรรม” เพื่อปรับเปลี่ยน “ทัศนคติ” และ “ค่านิยม” ในการมีคู่สมรสต่างชาติ ใน “ชนบท” ให้พวกเขา “เข้าใจ” และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ถูกต้อง ไม่ใช่มี “ค่านิยม” บนความ “เพ้อฝัน” อย่างดังเช่นทุกวันนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” อย่างยั่งยืน และพัฒนา “คุณภาพชีวิต” ของคนไทยคู่สมรสต่างชาติให้มีความสุขอย่างแท้จริง.   

          สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติ แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2553 เป็นองค์กรอาสาสมัครที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรและคณะบุคคลที่เน้นทำงานเพื่อการกุศล

          โดยเป็น “ศูนย์กลาง”  การประสานงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติและประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งในภาคพื้นยุโรปและในประเทศไทย โดยเฉพาะหญิงไทยและเด็ก

          ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้คู่สมรสต่างชาติ ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการขาดความรู้ด้านกฎหมาย

          จึงขอเชิญชวน...คนไทยคู่สมรสต่างชาติทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ที่มีความสนใจ  เข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฯ ทั้งนี้เพื่อรับฟังข้อมูลต่าง ๆ และขอรับคำปรึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

          ผู้สนใจสามารถโทรศัพท์ติดต่อสอบถามได้ที่ สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติ แห่งประเทศไทย

          เบอร์โทรศัพท์  084-4365533

บริการช่วยเหลือสังคม
ศูนย์ประชาบดี โทร 1300
ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วย
เหลือสังคม โทร 0-2306-8951-2
ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยสังคม
โทร 0-2306-8934-5
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้า
มนุษย์ โทร 0-2642-7991-2 ต่อ 11
สหทัยมูลนิธิโทร 0-2381-8834-6,
0-2392-9397-8
สมาคมวางแผนครอบครัว
โทร 0-2245-7382-5
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
โทร 0-2229-5803-7
คลินิกชุมชนเวชกรรม (ปรึกษาคลินิก
หมอมีชัย) โทร 0-2229-4611-28
สมาคมเสริมสร้างครอบครัว
โทร 1761, 0-2622-2220

บริการข้อมูล-ร้องทุกข์ภาครัฐ
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล
โทร 1111
ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์
โทร 1548
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบ
รัฐบาล โทร 1376
ร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
โทร 1676
สายด่วนนายกรัฐมนตรี
โทร 0-2280-3000
ศูนย์บริการข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม
โทร 1765
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
โทร 1567
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
โทร 0-2287-3102


กระทรวงมหาดไทย


กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


กระทรวงการต่างประเทศ


กระทรวงศึกษาธิการ


สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สงวนลิขสิทธิ์ © THAIFOREIGNSPOUSE.COM
"สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทย"
เลขที่ 135/262 อาคาร 3 โสสุนครคอนโด ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
หน้าแรก | แผนผังเว็บไซต์ | แนะนำติชม | ลงโฆษณากับเรา