FEDERATION OF THAI AND FOREIGN SPOUSE NETWORKS ASSOCIATION OF THAILAND

หน้าแรก | แนะนำสมาพันธ์ | ข้อบังคับสมาพันธ์ | ข่าวสารและกิจกรรม | ชมรมและเครือข่าย | ติดต่อสมาพันธ์

User Login
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

     แนะนำสมาพันธ์ฯ
     ข้อบังคับสมาพันธ์ฯ
     ข่าวสารและกิจกรรม
     บทความและสาระน่ารู้
     ดาวน์โหลดเอกสาร
     ชมรมและเครือข่าย
     ติดต่อสมาพันธ์ฯ

รับข่าวสารของสมาพันธ์ฯ !
     เพียงกรอกอีเมล์ของท่านไว้ทางเรา จะจัดส่งข่าวสารต่างๆของสมาพันธ์ฯให้ ท่านทางอีเมล์

สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
  ผู้ชมวันนี้ 1 คน  
  ผู้ชมเดือนนี้ 140 คน  
  ผู้ชมทั้งหมด 44045 คน  
"ความสำคัญของพาสปอร์ตและวีซ่า"


          

ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายและความแตกต่างระหว่าง บัตรประจำตัวประชาชน(Identification Card, ID Card) หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต (Passport) และวีซ่า (Visa)

“คนไทย” หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า บัตรประจำตัวประชาชน, หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต, และวีซ่า มีความเกี่ยวพันกับเราอย่างไรบ้าง และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดเมื่อเราต้องการเดินทางไปยังต่างประเทศ และหากเราไม่มีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตและวีซ่า เราสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่?

โดยปกติแล้ว “คนไทย” ทุกคน จะต้องมี “บัตรประจำตัวประชาชน” ( ID. Card) เพื่อยืนยันความเป็นบุคคลสัญชาติไทย และบัตรประจำตัวประชาชนก็มีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของคุณในทุก ๆเรื่อง แต่สำหรับหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต (Passport) และวีซ่า (Visa) นั้น หากคุณไม่ได้เดินทางไปยังต่างประเทศ คุณก็ “ไม่จำเป็น” ต้องทำ(หรือมี) ก็ได้

 เพราะ “คนไทย” อยู่เมืองไทย “พกบัตรใบเดียวก็พอ"   ซึ่งก็หมายถึง "บัตรประจำตัวประชาชน" นั่นเอง

วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน

"บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของทุกคนเป็นอย่างมาก เช่น  การใช้สิทธิเลือกตั้ง การสมัครงาน  การติดต่อธุรกิจการค้า  การทำนิติกรรมสัญญา  และการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน

นอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ เฉพาะด้าน เช่น  บัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล   ใบอนุญาตขับรถ(ใบขับขี่)   หนังสือเดินทาง(Passport)  หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ  ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน  และการธนาคาร 

ซึ่งหากใครไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว  “ความยุ่งยาก” สับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้น  อีกทั้งจะส่งผลทำให้

กำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่า “คนไทย” เริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฏอยู่ใน   พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่  พ.ศ. 2457  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5  โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า   "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น  จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"  วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎรดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง  เพราะการมีหนังสือเดินทางของทางราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็น ใคร  มาจากแห่งหนตำบลใด   ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า  เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว   ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด

หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้นและเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ80 ปีที่แล้ว  ความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร   เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ(หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำหนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486 : กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกของไทย

ผลของการออกหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร  อยู่ที่ไหน  รูปพรรณเป็นอย่างไร  เพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฎรของทางราชการ  รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการทำมาค้าขาย

ดังนั้นในปี พ.ศ.2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8  รัฐบาลโดยการนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี  ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก  เรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คนไทย  แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ  จังหวัดพระนคร  และจังหวัดธนบุรี  (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)  

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก  มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า  แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง2ด้านด้านหน้า(ปกหน้า)   จะมีรูปครุฑและคำว่า  "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร  ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร  ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนอาทิเช่น  ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่   เป็นต้น

ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้ 

หน้าที่1   ระบุข้อความว่า  เลขทะเบียนที่ออกบัตร  วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรนาด 2 นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลาย พิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา 

หน้าที่ 2   เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร  ได้แก่  ชื่อตัว  ชื่อรอง  ชื่อสกุล   วันเดือน ปีเกิด อายุ  ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ   สัญชาติ  ชื่อบิดา   มารดา  ชื่อภริยา หรือ สามี   

หน้าที่ 3   เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร  ได้แก่   ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่ บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบลอำเภอ  จังหวัดอาชีพ  และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่  

หน้าที่ 4 - 6  มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร       ลักษณะพื้นบัตร   เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ   ด้านหน้าและด้านหลัง  ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวราราม   เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย    

บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้  มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว  ต้องทำคำร้องขอเปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์  ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย   คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์จนถึง  70 ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505:  กฎหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร

ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ     และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและ ปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้น   

 บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก  มีจุดอ่อนในด้านการพกพา  ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป  ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร  หลักการ   และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย  จอมพล สฤษดิ์  ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ

ในที่สุดจึงได้ออก   "พ.ร.บ.   บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505" ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมาโดยการออกบัตรจะมี  "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ   

สาระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486  มีหลายประการ  อาทิ เช่น  กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย  อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์  แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนดค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ 5 บาท  และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน   

ลักษณะของบัตรรุ่นที่สอง เป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร  ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง   มีข้อความ  "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย"     วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร  ประกอบด้วย  รูปถ่ายที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและคัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร  ปรากฏอยู่ทางด้านซ้าย  ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัวชื่อสกุล  วันเดือนปีเกิด  อายุ  ที่อยู่  และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ  รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา  คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506  จนถึงสิ้นปี 2530  รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วง ระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 : กฎหมายฉบับปัจจุบัน  

พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505  ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้17ปีบริบูรณ์  ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน  จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง      

ในสมัยรัฐบาลที่มี  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้ยกเลิก  พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้บังคับแทน  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน     

กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่  การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก17 ปีบริบูรณ์ เป็น15ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร15ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   นอกจากนั้น  ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ70ปีบริบูรณ์   สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต  กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น  และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ  

การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ  และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด  ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 : การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น  ทั้งประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย  ค่ายสังคมนิยม   คอมมิวนิสต์  และค่ายประเทศที่สาม  ทำให้มีบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น   ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบ ความต้องการบัตรประจำตัวประชาชนในหมู่ของคนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้เยี่ยงคนไทย  ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก  

นอกจากนี้ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและราชการไทย   สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการเรียกร้องปรับปรุงรูปโฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม   ก้าวหน้า ทันสมัย  และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้มากขึ้น

ด้วยเหตุนี้  คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติรสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี  จึงได้มีมติเมื่อวันที่30 เมษายน 2529เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์   ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ   และอนุมัติให้ดำเนินการได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว  เป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมหน้าของบัตรประจำตัวประชาชน  มาสู่รูปแบบใหม่เป็นบัตรรุ่นที่ 3

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว8.4เซ็นติเมตร  ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้าทั่วบัตรทั้งสองด้าน   ด้านหน้าของบัตรมีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง  มีตัวอักษรคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน"  <อยู่ด้านบนครุฑคำว่า  "กรมการปกครอง"  อยู่ด้านซ้าย  คำว่า "กระทรวงมหาดไทย"  อยู่ด้านขวา   ส่วนด้านล่างครุฑมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตรและตราประจำตำแหน่ง    

สำหรับด้านหลังของบัตรแถวบนสุดจะมีเลขประจำตัว13หลักซึ่งเป็นเลขชุดเดียวกับที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน  ถัดมาจะมีเลข8 หลัก  ซึ่งเลข 2 หลักแรกบ่งบอกถึงรอบของการออกบัตร  ส่วนเลข6หลักต่อมาหมายถึงลำดับที่ของการทำบัตร  ถัดลงมาด้านซ้ายจะมีรูปถ่ายของผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ   โดยมีเส้นแสดงส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ส่วนด้านขวาจะมีรายการของผู้ถือบัตร  ประกอบด้วย ชื่อตัว  ชื่อสกุล  วันเดือนปีเกิด  วันออกบัตร  วันบัตรหมดอายุ และที่อยู่  

ลักษณะที่พัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบัตรรุ่นนี้  คือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสี  พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่   มีการป้องกันการปลอมแปลงด้วยการเคลือบวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ  มีลายสัญลักษณ์รูปสิงห์  และคำว่า"กรมการปกครอง"  ฝังอยู่ในเนื้อวัสดุไม่สามารถมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า   การจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัตรและการตรวจสอบรายการบัตรเดิมถูกดำเนินการในรูปของฐานข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์   

บัตรประจำตัวประชาชนระบบนี้   เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 4 บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค

การพัฒนาระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน  มิได้หยุดนิ่งแค่บัตรรุ่นที่สามเท่านั้น  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุค “โลกาภิวัตน์” ประกอบกับความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนและแรงผลักดันในเรื่องการให้บริการประชาชน  ก่อให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ทันสมัย  ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  ได้เสนอ  "โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วย “ระบบคอมพิวเตอร์" โดยเป้าหมายหลักที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบทั้งระบบเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของบัตรให้ทันสมัย      และเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน  ให้สะดวก  รวดเร็ว และถูกต้องทั้งนี้การผลิตบัตรจะกระจายไปถึงสำนักทะเบียนแต่ละแห่ง   ประชาชนที่มาทำบัตร สามารถรอรับบัตรได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว  ภายในวันที่ติดต่อขอทำบัตร  โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับ บ.ป.2 หรือใบเหลืองอีกต่อไป    

โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 หลังจากติดตั้งระบบและให้บริการด้านทะเบียนราษฎรแล้ว  กรมการปกครองจึงสามารถเปิดระบบให้บริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่เป็นครั้งแรก  ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี  และกรุงเทพมหานคร  โดยถือปฐมฤกษ์ในวันที่5ธันวาคม 2539  เพื่อเป็นสิริมงคลในวโรกาสฉลองปีกาญจนาภิเษกและเฉลิมพระชนมพรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช      

ในด้านกฎหมายนั้น  ยังคงใช้ พ.ร.บ.  บัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ. 2526 เพื่อบริการประชาชนในการขอทำบัตรในกรณีต่างๆ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการจัดทำบัตรระบบใหม่     ได้แก่  การออกกฎกระทรวง  กำหนดลักษณะของบัตร  และการประกาศกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการเท่านั้น

ลักษณะของบัตรรุ่นใหม่นี้มีดังนี้

1.ลักษณะของบัตร ตัวบัตรทำด้วยพลาสติก มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงขนาดมาตรฐานสากล  (ISO) กว้าง 5.4 เซ็นติ-เมตร ยาว 8.6 เซ็นติเมตร หนา 0.76 มิลลิเมตร  พื้นบัตรทั้งสองด้านเป็นสีขาว มีลายสีฟ้า  

2.ด้านหน้าของบัตร มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร  พร้อมรายการเกี่ยวกับประวัติของเจ้าของบัตร  ได้แก่เลขประจำตัวประชาชน  13หลัก  ชื่อตัว  ชื่อสกุล  วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน   หมู่โลหิต  วันที่ออกบัตร  วันที่บัตรหมดอายุ  และมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตร

3. ด้านหลังของบัตร  มีคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย"รูปครุฑ และแถบแม่เหล็ก  สำหรับบันทึกข้อมูลของเจ้าของบัตร   นอกจากนี้จะมีรหัสกำกับบัตร  ซึ่งเป็นชุดของตัวเลขผสมตัวอักษร  เพื่อควบคุมกำกับการออกบัตรของแต่ละสำนักทะเบียนด้วย    

บัตรรุ่นใหม่นี้   เรียกกันว่า"บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค"  เนื่องจากทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิมพ์คำขอมีบัตร  รายการบุคคลของผู้ขอมีบัตร  ซึ่งรวมถึงภาพใบหน้า การลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานออกบัตร และการตรวจสอบหลักฐานรายการบัตรเดิมดำเนิน การด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น     

การให้บริการจัดทำบัตรระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์นั้น  จะดำเนินการในรูปแบบของการตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ภาค จำนวน9ภาค เพื่อควบคุมและดูแลระบบการดำเนินงานของสำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ  ซึ่งตามโครงการฯ กำหนดเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี2539-2544   โดยมีแผนปฏิบัติการขยายเขตให้บริการ ดังนี้  

  • 5 ธันวาคม 2539 ได้เปิดบริการแล้วที่   อำเภอเมืองปทุมธานี  และ กรุงเทพมหานครทุกเขต  
  •  ประมาณเดือน เมษายน 2540  จะเริ่มเปิดระบบให้บริการเพิ่มอีก 4 จังหวัด  ได้แก่  ชลบุรี  นครราชสีมาเชียงใหม่  และสงขลา  
  •  ประมาณเดือนธันวาคม2540  บริการเพิ่มอีก4จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม  อุดรธานี  พิษณุโลกและสุราษฎร์ธานี    
  •  ปีพ.ศ.2541-2544  จะดำเนินการเพิ่มใน67จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศ  การขยายบริการเป็นการดำเนินการภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

บทสรุป

ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกปีพ.ศ.2486   จนถึงฉบับปัจจุบัน  ซึ่งเป็นฉบับที่สาม  ในปีพ.ศ.2526 ประชาชนคนไทยมีบัตรประจำตัวประชาชนใช้มาแล้ว 4 รุ่นดังนี

บัตรรุ่นแรก  มีลักษณะคล้ายแผ่นพับขนาดเล็ก 4 ตอน   มีทั้งหมด 8 หน้า เริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2486จนถึงสิ้นปีพ.ศ.2505  ออกให้เฉพาะประชาชนในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพและธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) 

บัตรรุ่นที่สอง  มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า   ขนาดพกพาติดตัวได้ สะดวกมี 2 ด้าน  รูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปขาว-ดำ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา  และเคลือบด้วยพลาสติกใส  เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2506  จนถึงสิ้นปี  พ.ศ.2536รวมทั้งสิ้น 30 ปี    

บัตรรุ่นที่สาม มีลักษณะคล้ายกับบัตรรุ่นที่สอง  จุดแตกต่างคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ   พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ  เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2531เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ยังให้บริการทั่วประเทศยกเว้นเขตท้องที่ซึ่งเปิดให้บริการทำบัตรรุ่นที่สี่  

บัตรรุ่นที่สี่ มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิตมีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเจ้าของบัตร  และผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบรายการใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในบัตรรุ่นนี้คือ   การระบุหมู่โลหิต  เพื่อประโยชน์ในเรื่องคลังข้อมูลแหล่งโลหิตของสภากาชาดไทยบัตรรุ่นนี้  <เริ่มทยอยใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่5ธันวาคม2539  ในเขตท้องที่อำเภอเมืองปทุมธานี  และกรุงเทพมหานคร  และจะขยายการบริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ 

 ในอนาคตบัตรประจำตัวประชาชนจะทวีความสำคัญและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของบัตรในด้านต่างๆมากขึ้นเช่น อาจใช้แทนทะเบียนบ้าน   เป็นบัตรเสียภาษีหรืออาจจะรวมทั้งเป็นใบขับขี่ด้วย  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะกำหนดให้ดำเนินการในลักษณะใด  และถ้าจะว่าไปแล้วน่าจะมุ่งสู่วลีที่ว่า   "อยู่เมืองไทย  พกบัตรใบเดียวก็พอ"   ซึ่งก็หมายถึง "บัตรประจำตัวประชาชน" นั่นเอง

การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อันเป็นวันสุดท้ายของการดำเนินการให้ประชาชนที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้านได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้นช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 แล้วทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตนว่าเป็นบุคคลประเภทใด

ตัวเลขหลักที่ 1

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 1

หมายถึงประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1

คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 3 1006 01263 52 2

ประเภทที่ 2

คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2

ประเภทที่ 3

คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3

ประเภทที่ 4

คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที

ประเภทที่ 5

คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ เช่น คนที่ถือ2สัญชาติ

ประเภทที่ 6

คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6

ประเภทที่ 7

คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7

ประเภทที่ 8

คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน

คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้

ตัวเลขหลักที่ 2 - 5

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 2 - 5

หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ

ตัวเลขหลักที่ 6 - 10

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 6 - 10

หมายถึงกลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเองแต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

ตัวเลขหลักที่ 11 - 12

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 11 - 12

หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลนั้นๆ

ตัวเลขหลักที่ 13

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 13

ตัวเลขหลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรก

ตัวเลขหลักที่ 6 - 13

1 2345 67890 12 3

แสดงตัวเลขหลักที่ 6 - 13

เป็นการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่

ระบบตัวเลขแต่ละหลักนี้ทำให้สามารถรองรับจำนวนประชากรได้อีกมากในระดับ 18 ปี

ความหมายของพาสปอร์ตและวีซ่าตามกฎหมาย

พาสปอร์ต(Passport) คือหนังสือเดินทางซึ่งเป็นเอกสารที่ทางราชการของแต่ละประเทศออกให้แก่พลเมืองของตนเองพาสปอร์ตบ่งบอกถึง

ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ถือสัญชาติของผู้ถือและเป็นเอกสารสำคัญในการเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ในบางประเทศใช้พาสปอร์ตแทนบัตรประจำประชาชนด้วย อาทิ สหราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นต้น
วีซ่า(Visa) คือเอกสารที่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้ออกให้ภายใต้การพิจารณาของประเทศนั้นๆแต่เพียงผู้เดียวเพื่อเป็นการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวบุคคลหนึ่งสามารถเดินทางเข้าประเทศนั้นได้ภายใต้ช่วงเวลาและภายใต้ขอบข่ายของจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้โดยปกติแล้วจะมีการประทับตราที่พาสปอร์ตบางประเทศอาจเป็นในรูปแบบแผ่นสติ๊กเกอร์หรืออาจเป็นในรูปแบบของเอกสารที่เป็นใบแยกต่างหาก
บางประเทศอาจมีข้อตกลงเรื่องของการยกเว้นวีซ่าและสามารถเข้าออกได้โดยภายใต้ข้อตกลงที่ทั้งสองประเทศได้กำหนดไว้เช่นประเทศไทยและรัสเซียซึ่งมีข้อตกลงเรื่องการยกเว้นวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวโดยสามารถพำนักในประเทศอีกประเทศหนึ่งโดยไม่ต้องมีวีซ่าได้ในระยะเวลาไม่เกิน30 วันนับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศคู่สัญญา

นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงอื่นๆที่ส่งผลให้ผู้เดินทางไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของพาสปอร์ต ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่ หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางข้าราชการ หนังสือเดินทางนักการทูต เป็นต้น ในบางประเทศ หากผู้เดินทางถือพาสปอร์ตนักการทูต ก็สามารถเดินทางเข้าประเทศที่มีข้อตกลงร่วมกันเฉพาะทางการทูต โดยไม่จำเป็นจะต้องขอวีซ่า ในขณะที่ผู้ที่ถือพาสปอร์ตธรรมดาจำเป็นที่จะต้องขอ วีซ่าตามขั้นตอนปกติ เป็นต้น

หนังสือเดินทางไทย(Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทยโดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะออกในประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง

ประวัติและที่มาของหนังสือเดินทางไทย(Thai Passport)

ประวัติและวิวัฒนาการของหนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มมีหลักฐานและข้อมูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มมีการออกเอกสารที่มีรูปแบบเพื่อใช้ในการเดินทางสำหรับคนไทยโดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพ ซึ่งเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนเอกสาร มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้จะใช้ในข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ

ในเวลาต่อมาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยทางราชการสยาม (ราชการไทยในปัจจุบัน) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขต (ประเทศ) โดยกำหนดให้คนสยาม (พลเมืองไทย) ที่จะเดินทางไปเมืองต่างประเทศต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี

ในสมัยนั้นหนังสือเดินทางเรียกกันว่า เอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง เพื่อใช้เป็นหนังสือแสดงตัวสำหรับเดินทางไปในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย หรือเป็นการออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยมีการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในเอกสารเดินทาง ผู้มีอำนาจในการออกหนังสืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย หรือแม้แต่กำนัน ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดแน่นอน แต่ต้องได้รับคำสั่งจากเจ้าเมืองก่อน แต่ในสมัยนั้นชาวเมืองยังไม่ได้เห็นความสำคัญกับหนังสือเดินทางมากนัก เพราะยังไม่มีการตรวจลงตรา (Visa) หรือละเลยที่จะตรวจลงตราทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาหนังสือเดินทางจึงเริ่มมีการพัฒนาโดยเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับดังนี้

หนังสือเดินทางประเทศสยามออกในช่วงปีพ.ศ. 2482

  • ในปีพ.ศ. 2460 รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการออก "ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตให้มีหนังสือเดินทาง" เมื่อวันที่ 17 กันยายน เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อลดปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน
     
  • ในปีพ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกร้องให้ใช้รูปแบบหนังสือเดินทางให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการประชุมขององค์การสันนิบาตชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทางที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าว
     
  • ในปีพ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม อันเนื่องมาจากข้อตกลงในมติในที่ประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในปีพ.ศ. 2463 ทำให้เริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบของหนังสือเดินทางใหม่ให้เป็นรูปเล่ม
     
  • ในปีพ.ศ. 2482 มีการผลิตหนังสือเดินทางเป็นรูปเล่มปกแข็งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ภายในเล่มข้อมูลใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กัน มีการติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ หนังสือเดินทางมีจำนวน 32 หน้าโดยในสมัยนั้นมีแผนกหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแล แต่ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางหรือต่ออายุนอกพระราชอาณาเขตสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ได้ หนังสือเดินทางมีอายุเพียง 2 ปี แม้กระนั้นเมื่อหมดอายุสามารถต่ออายุได้ 1-2 ปีแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้นแต่สามารถสลักเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ค่าธรรมเนียมฉบับละ 12 บาทสำหรับออกเล่มใหม่ ส่วนการต่ออายุปีละ 6 บาท หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในส่วนของสี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน
  • ในปีพ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากที่เคยใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
     
  • ในปีพ.ศ. 2536 มีการพัฒนาในการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปลงในหนังสือเดินทางโดยใช้ระบบ Digital Passport System (DPS) ทำให้อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง (MachineReadable Passport)

หนังสือเดินทางไทยอิเล็กทรอนิกส์หน้าแรกรูปหัวเรือสุพรรณหงส์ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ยากแก่การปลอมแปลง

  • ในปีพ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)จึงมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางให้ข้อมูลอยู่ในหน้าเดียว
     
  • ในปีพ.ศ. 2543 ระบบการทำหนังสือเดินทางเริ่มเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎรผ่านทางคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนยื่นขอหนังสือเดินทาง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาระบบการผลิตหนังสือเดินทางโดยนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง ทั้งสองระบบนี้สามารถช่วยย่นเวลาการผลิตหนังสือเดินทางได้เป็นอย่างมากทำให้สามารถผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ
     
  • ในปีพ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงรูปแบบและเล่มหนังสือเดินทางให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแบบเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร ทำให้มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลงที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะนี้อาจจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และคุณลักษณะบางอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีการแฝงไว้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ในขั้นตอนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และมีความปลอดภัยสูง
     
  • ในปีพ.ศ. 2548 เริ่มมีการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการฝังไมโครชิปที่เป็นมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)มีการเพิ่มจำนวนหน้าเป็น 50 หน้า

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทราชการ

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต (e-passport)หรืออาจะเรียกว่าหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport)เป็นหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทางกองหนังสือเดินทางเริ่มให้บริการได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 แต่เปิดให้บริการเฉพาะผู้ทำหนังสือเดินทางประเภททูตและราชการเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการสำปรับประชาชนทั่วไปเพียงวันละ 100 เล่มเฉพาะที่กรมกงสุล และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้เต็มรูปแบบทุกแห่งและทุกประเภทหนังสือเดินทาง[1] ในปัจจุบันหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่น ๆ

ความแตกต่างระหว่างหนังสือเดินทางรุ่นเดิมและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่

ความแตกต่างของหนังสือเดินทางสองรุ่นนี้มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

1.      มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง (ทั่วไปจะเป็นนิ้วชี้ข้างซ้ายและขวา) โครงสร้างใบหน้าลงไว้ในไมโครชิพแบบ RFID ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง

2.      หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลที่มีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางได้ด้วยเครื่องอ่าน (Machine Readable Passport)โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง

อีกทั้งยังมีข้อแตกต่างอื่นๆ คือ

1.      หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถต่ออายุได้เหมือนหนังสือเดินทางรุ่นเดิมโดยจะเป็นการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม

2.      หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันข้อมูลขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลในหนังสือเดินทางกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพซึ่งอาจะทำให้หนังสือเดินทางขาดความน่าเชื่อถือ

3.      หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะมีให้เลือกเพียงแบบเดียวคือแบบจำนวน 50 หน้าโดยไม่สามารถเพิ่มเติมหน้าได้ ต่างจากแบบเดิมที่มี 32 หน้าและสามารถเพิ่มหน้าได้ตอนหลัง

ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

กองหนังสือเดินทางกล่าวไว้ว่าหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์มากขึ้นในหลายด้านเช่นด้านของการป้องกันการปลอมแปลงเนื่องจากต้องปลอมแปลงข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางให้ตรงกันสองอย่างซึ่งมีความเป็นไปได้ยากทำให้สามารถสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัญหาการลักลอบเข้าเมือง อีกทั้งยังทำให้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น สุดท้ายยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยทำให้หนังสือเดินทางประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น

ชนิดของหนังสือเดินทางประเทศไทย

หนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มจากบนซ้ายตามเข็มนาฬิกา ประเภทธรรมดา ทาง ราชการ ทางการทูต และเดินทางชั่วคราว

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้

  • หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)

ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

  • หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)

หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

  • หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)

ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

1.      พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.      พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส

3.      พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ

4.      ประธานองคมนตรี และองคมนตรี

5.      นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

6.      ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา

7.      ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์

8.      ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด

9.      อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ

10.  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ

11.  ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ

12.  ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี

13.  คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8

14.  บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

  • หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

  • หนังสือเดินทางพระ

ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

  • หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

ลักษณะทางกายภาพ

หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometricpassport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง

ขนาด

หนังสือเดินทางมีขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตรมีจำนวนหน้าทั้งหมด 50 หน้า

ข้อมูลจำเพาะผู้ถือหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยจะมีข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้

  • รหัส (Type) 'P' อักษรย่อสำหรับคำว่า "Passport"
  • ประเทศ (Country code) "THA" สำหรับประเทศไทย
  • หนังสือเดินทางเลขที่ (Passport No.) มีรูปแบบเป็น A123456 (ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขหกหลัก)
  • นามสกุล (Surname) เป็นภาษาอังกฤษ
  • คำนำหน้าชื่อ ชื่อ (Title Name) เป็นภาษาอังกฤษ
  • ชื่อภาษาไทย (Name in Thai) ประกอบด้วยคำนำหน้า ชื่อ และนามสกุลเป็นภาษาไทย
  • สัญชาติ (Nationality) "THAI" สำหรับประชาชนไทย
  • วันเกิด (Date of birth) ในรูปแบบ DD-MMM-YYYY (วัน เดือน ปีค.ศ.) เช่น 20 NOV2006
  • เลขประจำตัวประชาชน (Personal No.)
  • เพศ (Sex) "M" สำหรับบุรุษ หรือ "F" สำหรับสตรี
  • ส่วนสูง (Height) หน่วยเป็นเมตร
  • สถานที่เกิด (Place of birth) โดยทั่วไปจะเป็นจังหวัดที่เกิด
  • วันที่ออก (Date of issue) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด
  • วันที่หมดอายุ (Date of expiry) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด โดยจะหมดอายุในอีก 5 ปีให้หลัง
  • ออกให้โดย (Authority) โดยทั่วไปจะเป็น "MINISTRY OF FOREIGN AFFAIR"
  • ลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง (Signature of bearer)

หมายเหตุหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางส่วนใหญ่จะมีหมายเหตุจากประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทางให้โดยเป็นการชี้แจงว่าผู้มือหนังสือเดินทางเป็นพลเมืองของประเทศนั้นและขอความกรุณาให้พลเมืองของประเทศตนสามารถผ่านเข้าไปในประเทศได้และได้รับการปฏิบัติต่อผู้ถือหนังสือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของนานาชาติ หมายเหตุสำหรับหนังสือเดินทางประเทศไทยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีข้อความว่า

"The Minister of Foreign Affairs of Thailand hereby requests all whom it may concern to permit the citizen/national of the Kingdom of Thailand named hereinto pass freely without delay or hindrance and to give all lawful aid andprotection.

This passport is valid for all countries and area."


หมายความว่า

"กระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทยจักร้องขอ ณ โอกาสนี้ยังผู้เกี่ยวข้อง ได้ยินยอมให้ประชาชน/ราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ปรากฏนาม ณ ที่นี้ ได้ผ่านไปโดยเสรี มิให้ล่าช้า ฤๅกีดกั้น ทั้งโปรดอนุเคราะห์และปกป้องโดยนิติธรรม

หนังสือเดินทางนี้มีผลแก่ทุกประเทศแลดินแดน"

ภาษา

ภายในหนังสือเดินทางประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ค่าธรรมเนียม

หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางพระ หนังสือเดินทางราชการ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท ส่วนหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 400 บาท

รายชื่อประเทศที่ยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย

รายชื่อประเทศที่ทำความตกลงโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการตรวจลงตรา (visa)หรือการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (visa on arrival)ในการเข้าประเทศเหล่านี้สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย

ทวีปเอเชีย

สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท

•      ลาว 30 วัน
•      เวียดนาม 30 วัน
•      ฮ่องกง 30 วัน
•      มาเก๊า 30 วัน
•      เกาหลีใต้ 90 วัน
•      สิงคโปร์ 30 วัน
•      ศรีลังกา 30 วัน
•      มาเลเซีย 30 วัน
•      บรูไน 14 วัน
•      อินโดนีเซีย 30 วัน
•      บาห์เรน 14 วัน (Visa On Arrival)
•      ฟิลิปปินส์ 21 วัน
•      จอร์แดน 30 วัน (Visa On Arrival)
•      อิหร่าน 14 วัน (Visa On Arrival)

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ

•      กัมพูชา 30 วัน
•      มองโกเลีย 30 วัน
•      โอมาน 30 วัน
•      พม่า 30 วัน
•      จีน 30 วัน
•      ญี่ปุ่น 90 วัน
•      ฟิลิปปินส์ 90 วัน
•      มาเลเซีย 90 วัน
•      อินโดนีเซีย 90 วัน
•      ภูฏาน 90 วัน
•      สิงคโปร์ 90 วัน
•      ตุรกี 90 วัน
•      เนปาล 90 วัน
•      อิสราเอล 90 วัน

ทวีปยุโรป

สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท

•      รัสเซีย 30 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ

•      ออสเตรีย 90 วัน
•      เบลเยียม 90 วัน
•      โครเอเชีย 90 วัน
•      สาธารณรัฐเช็ก 90 วัน
•      เยอรมนี 90 วัน
•      ฮังการี 90 วัน
•      อิตาลี 90 วัน
•      ลักเซมเบิร์ก 90 วัน
•      เนเธอร์แลนด์ 90 วัน
•      โปแลนด์ 90 วัน
•      โรมาเนีย 90 วัน
•      รัสเซีย 90 วัน
•      สวีเดน 90 วัน
•      สโลวาเกีย 90 วัน


ทวีปอเมริกา

สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท

•      อาร์เจนตินา 90 วัน
•      บราซิล 90 วัน
•      ชิลี 90 วัน
•      เปรู 90 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ

•      คอสตาริกา 90 วัน
•      เม็กซิโก 90 วัน

ทวีปแอฟริกา

สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท

•      แอฟริกาใต้ 30 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ

•      แอฟริกาใต้ 90 วัน
•      ตูนิเซีย 90 วัน

ทำไม “คนไทย” ต้องมี “พาสปอร์ต” และ “วีซ่า”  เมื่อต้องการเดินทางไปยังต่างประเทศ

การอนุญาตให้ “คนไทย” หรือบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองของประเทศต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและสนธิสัญญาของประเทศนั้น ๆ กับประเทศไทย ดังนั้นเรา “คนไทย” จึงจำเป็นต้องขอ “วีซ่า” เพื่อเข้าประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในโซนยุโรป อเมริกา อังกฤษ แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ

สำหรับใครก็ตามที่อยากรู้ว่าประเทศอเมริกามีวีซ่าให้ขอกันกี่แบบ(รวมถึงตัวเองด้วย) เราก็เลยไปหาข้อมูลมาฝากกันค่ะ

Visa ของอเมริกา แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. วีซ่าชั่วคราว สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการตั้งถิ่นฐาน

ชื่อก็บอกบ่งอยู่แล้วว่า ชั่วคราว ...แต่ก็ยังคงมีคนบางกลุ่มละเมิดกฎหมายโดยขอวีซ่าชั่วคราวเข้าไปยังประเทศนั้น ๆ แต่หลบซ่อนไปเป็น Robin Hood(ใช้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ๆอย่างคนนอกกฎหมาย) กันเยอะ ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ เลยไม่ค่อยให้ผ่านวีซ่ากันง่ายๆ

วีซ่าประเภทนี้ก็ได้แก่

  • วีซ่าท่องเที่ยว B-1 / B-2 Visitor's Visas
  • วีซ่าสำหรับอาชีพพิเศษ H1-B Specialty Occupation (Professionals) Visa
  • วีซ่าคู่หมั้น K-1Fiance' Visas
  • วีซ่าการโอนย้ายภายในบริษัท L-1 / L-2 Intranscompany Transfer Visas
  • วีซ่านักเรียน F-1 and M-1 Student Visas
  • วีซ่าพยาบาล H1-C Nurse Visas
  • วีซ่าแลกเปลี่ยนผู้เยี่ยมเยียน J-1 Exchange Visitor Visas --> work & travel, au pair ก่อการร้าย เค้าใช้วีซ่านี้เข้าประเทศ ตอน 9-11
  • วีซ่าว่าด้วยสนธิสัญญาทางการค้าและการลงทุน E-1 / E-2 Treaty Trader and Investor Visas
  • วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความสามารถพิเศษ O-1 Extraordinary Ability Worker Visas
  • วีซ่าสำหรับศิลปินและนักกรีฑา P-1 Artists and Athletes Visas (สงสัยเวลาจะไปเปิดคอนเสิร์ตที่อเมริกาต้องขอวีซ่านี่เหรอ...ถ้าเป็นนักร้อง)
  • วีซ่าสำหรับผู้ทำงานด้านศาสนา R-1 Religious Worker Visas
  • วีซ่าว่าด้วยข้อตกลงทางการค้าเสรีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา TC and TN / NAFTA and US-Canada Free Trade Agreement Visas

2. วีซ่าถาวร สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งถิ่นฐานถาวร

ชื่อก็บอกอีกเหมือนกันว่า “ถาวร” นั่นหมายถึงคุณจะไปอยู่ที่นั่น...ไม่อยู่แล้วเมืองไทย แต่จะย้ายภูมิลำเนาไปอาศัยอยู่ที่โน่น

วีซ่าประเภทนี้ได้แก่

  • วีซ่าครอบครัวสนับสนุน/วีซ่าที่ต้องการตั้งถิ่นฐานภายใต้การสนับสนุนของครอบครัว Family Sponsored / Family Based Immigrant Visas
  • วีซ่าคู่หมั้น K-1Fiance' Visas
  • สลากกินแบ่งกรีนการ์ด The "Green Card Lottery" - Diversity Immigration –ตอนไปสถานทูต เขาเรียกว่า "วีซ่าตลอดชีพ"
  • วีซ่าผู้ที่ต้องการตั้งถิ่นฐานภายใต้การว่าจ้างทำงาน Employment Based Immigrant Visas
  • วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้ได้รับความคุ้มครอง Refugee and Asylum Application

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตรา(Visa) ประเภทต่างๆ ของประเทศไทย        
                      

1.  การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)         

2.  การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa)                                                                  

3.  การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

4.  การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa)

5.  การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa)

6.  การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)   

การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้

  •    เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร (รหัส TS )
  •    เพื่อเล่นกีฬา  (รหัส S )
  •    เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C)

2. อายุวีซ่า 3 เดือน

3. ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง

4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา

  •   หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  •   แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
  •   รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
  •   บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
  •   วีซ่าของประเทศที่สามในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง  (รหัส TS)
  •   หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา  (รหัส  S)
  •   หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร  (รหัส C)
  •   ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่า ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/   การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง

การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว (รหัส TR)

2. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน

3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ต่อครั้ง

4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 หรือ 60 วัน

    หากผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวมีสัญชาติของประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว หรือมีสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย จะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 60 วัน หากเป็นผู้ที่มีสัญชาติอื่นจะได้รับอนุญาตให้พำนักครั้งละไม่เกิน 30 วัน

5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา

  •   หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  •   แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
  •   รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)
  •   หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว เช่น บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
  •   เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีที่เดินทางมากับบริษัททัวร์)
  •   ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่า ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889   เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/  การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง

การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F)

  • การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (ฺรหัส B)

  • การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM)

  • การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB)

  • การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED)

  • การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M)

  • การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R)

  • การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร   (รหัส RS)

  • การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX)

  • การอื่น (รหัส O) ได้แก่

  1)  การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ

  2)  การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี

  3)  การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

  4)  การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ

  5)  การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

  6)  การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ

  7)  การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร

  8) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล

  9) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ

2.   อายุวีซ่า
     -  3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (single entry)
     -  1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)

3.  ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry)  และ 5,000 บาท (multiple entries)

4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

6. การขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร  คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาพำนักให้อยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถยื่นคำร้องได้  ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889   เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/  การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
 
7. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา เนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศไทยหลายประการ  เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง  และสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

เอกสารที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
  • รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)

เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น

การเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลในครัวเรือนหรือในความอุปการะ  (รหัส O)

  • หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร / สูติบัตร / ใบสำคัญการสมรส
  • หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย
  • หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน
  • หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี

เข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาล (รหัส  O)

  • หนังสือตอบรับจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย

คู่ความหรือพยานในศาล (รหัส  O)

  • หนังสือหรือหมายจากศาลของไทย

การเข้ามาเพื่อใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุ  (รหัส  O)

  • ผู้ร้องต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ระบุวัตถุประสงค์ว่าจะขอเข้ามาใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุหรือเกษียณ และจะไม่ทำงานในระหว่างพำนักในไทย
  • หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือหลักฐานการได้รับเงินบำนาญ  (ต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 200,000 บาท หรือมีรายได้/บำนาญไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท)

  [ หมายเหตุ ]
     1.  เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 90 วัน  การขยายระยะเวลาพำนัก จะต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
     2.  หากเป็นการขอขยายระยะเวลาพำนักระยะยาว คือ 1 ปี สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์การเข้าเมืองของคนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่อเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรคราวละไม่เกิน 1 ปี  รหัส O-A   โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าผู้ร้องต้องมีหลักทรัพย์เป็นเงินฝาก 800,000 บาท หรือมีรายได้/บำนาญเดือนละ 65,000 บาท  หรือมีเงินฝากและรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท)

นักเรียน / นักศึกษา  (รหัส  ED)

  • หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา
  • หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน)

นักบวชที่จะเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา (รหัส  ED)

  • หนังสืออนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ

การปฏิบัติหน้าที่ราชการ (รหัส  F ) การปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ (รหัส B) การฝึกอบรม ดูงาน (รหัส ED)

  • หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐบาล ที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน (รหัส  B)

  • หนังสือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในบริษัทฯ ที่ขอได้  (ในการขอรับหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าวนายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานหรือ แบบ ตท.3  ณกองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดงกท 10400 โทร. 245-2745 / 617-6578 / 617-6584 โทรสาร 617-6576  หรือที่สำนักงานแรงงานจังหวัดซึ่งหากอนุญาตให้คนต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานได้ตามที่ขอกระทรวงแรงงานจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุญาต  ให้นายจ้างส่งหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าวให้คนต่างด้าวใช้เป็นเอกสารประกอบการขอวีซ่า)
     
  • หนังสือจากบริษัทในประเทศไทยที่จะจ้างงานบุคคลต่างด้าวดังกล่าวชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงานพร้อมทั้งแนบเอกสารของบริษัท เช่นใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ /บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) /ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ

[ หมายเหตุ ]
      1.  เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa “B”) จากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่แล้ว เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ให้ไปติดต่อกองงานคนต่างด้าว  เพื่อยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงจะสามารถทำงานได้
      2.  ในกรณีของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับพิจารณาอนุมัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้ตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส  B-A  ซึ่งพำนักได้ 1 ปี ให้แก่คนต่างด้าวนั้นต่อไป ]

การติดต่อธุรกิจ (รหัส B)

  • หนังสือรับรองการทำงานของบริษัทที่ผู้ร้องทำงานอยู่ รวมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปประเทศไทย ชื่อบริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานที่จะไปติดต่อ
  • หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือการทำธุรกิจของผู้ร้อง (กรณีไม่ได้ทำงานกับบริษัทหรือหน่วยงานใดๆ)
  • หลักฐานแสดงสถานะทางการเงิน/โครงการที่จะเข้ามาประกอบในประเทศไทย (กรณีประสงค์จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบกิจการในประเทศไทย)
  • หนังสือเชิญของบริษัทในประเทศไทยให้ผู้ร้องเดินทางไปประเทศไทยเพื่อติดต่อธุรกิจ  (โดยต้องแนบเอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ)
  • กรณีผู้ร้องอ้างว่าเป็นที่ปรึกษาของบริษัท ต้องมีสำเนาหนังสือแต่งตั้งบุคคลของบริษัทยื่นประกอบด้วย

 [ หมายเหตุ ]
       1.  สำเนาเอกสารของบริษัทฯ จะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามและประทับตรารับรอง โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามด้วย
       2. กรณีหนังสือของบริษัท ควรได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน – 1 ปี เนื่องจากบริษัทหลายแห่งมิได้ดำเนินธุรกรรมใดๆ ในปัจจุบัน แต่นำเอกสารบริษัทเดิมไปใช้ในการรับรอง )

ครู / อาจารย์ในสถาบันการศึกษาเอกชน  (รหัส  B)

  • หนังสือตอบรับการจ้างจากสถาบันการศึกษา 
  • หนังสืออนุมัติให้จ้างบุคคลดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช) หรือจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)
  • หลักฐานวุฒิการศึกษา
  • หนังสือรับรองว่าไม่มีประวัติอาชญากรรม

การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa)

1.  การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น

2.  ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

3.  ยกเว้นค่าธรรมเนียม

4.  ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน


การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa)

1.  การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น

2.  ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงาน หรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

3.  ยกเว้นค่าธรรมเนียม

4.  ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)

1. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ
  • การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ

2. เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา

  •  หนังสือเดินทาง
  •  แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมรูปถ่าย
  •  หนังสือนำจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ร้อง หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน

3.  อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)

4.  ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

5.  ไม่เก็บค่าธรรมเนียม

6. การขยายระยะเวลาพำนัก เมื่อครบกำหนดตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยทั่วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้อยู่ต่อไป  เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัยไม่สามารถเดินทางออกไปได้  โดยในการขอยื่นคำร้องขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะต้องมีหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศแจ้งขอเป็นรายๆ ไป เพื่อนำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ และต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออยู่ต่อตามปกติ

ประเภทวีซ่า(Visa) เพื่อเข้าประเทศไทย

1. คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ต้องมีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อันถูกต้องและรัฐบาลไทยยอมรับ กล่าวคือ ต้องเป็นเอกสารการเดินทาง ซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ออกให้แก่คนสัญชาติของตน (มิใช่ออกให้โดยรัฐบาลของประเทศที่สาม)

2. การเข้าเมืองของคนต่างด้าวทุกสัญชาติ จำแนกได้หลายประเภท ดังนี้

ประเภทที่ได้รับการตรวจลงตรา (VISA) จากสถานทูตไทย หรือ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ คนต่างด้าวนั้น จะต้องขอรับการตรวจลงตราก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือขอรับการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ

VISA ชนิดต่างๆ แบ่งเป็นประเภทตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ได้ดังนี้  

  • ประเภทคนผ่าน (Transit- TS) เพื่อการเดินทางผ่านราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน
  • ประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist - TR) เพื่อการท่องเที่ยว พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 60 วัน
  • ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non- Immigrant) เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงาน ทำธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ การศึกษาวิจัย เพื่อการลงทุน เพื่อมาอยู่กับครอบครัวคนไทย หรือเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย เป็นต้น พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน
  • ประเภทราชการ (Official) เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
  • ประเภททูต (Diplomatic) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต หรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
  • ประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(Immigrant)
  • ประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว (Non- Quota Immigrant)

ความสำคัญของหนังสือเดินทาง

ถาม: หนังสือเดินทางชั่วคราว หรือ หนังสือเดินทางถาวร มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร?
ตอบ:

  1. เป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ถือหนังสือเดินทางชั่วคราว (TP) หรือหนังสือเดินทางถาวร (PP)
  2. เป็นเอกสารที่ใช้ในการขอตรวจลงตรา และประทับตราอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร (วีซ่า)เพื่อวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  3. ใช้ หนังสือเดินทางชั่วคราวหรือหนังสือเดินทางถาวรแสดงกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเวลาเดิน ทางกลับประเทศลาวเพื่อไปทำธุระหรือกลับไปเยี่ยมครอบครัวญาติพี่น้อง
  4. ใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกตรวจสอบขณะอยู่ในประเทศไทย

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่

1. รับบัตรคิว

2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13หลัก (หากไม่มีเลข 13หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล

  • ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวา ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า)
  • แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์

3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 35บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม     

ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้

  • หากยื่นที่กรมการกงสุล หรือ สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5วันทำการ
  • กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5วันทำการ
  • ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)

สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ    

123ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ 0-2981-7171-99โทรสาร 0-2981-7256


สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา   

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1

โทรศัพท์ 0-2383-8401-3  โทรสาร 0-2383-8398

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า   

อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700

โทรศัพท์ 0-2446-8111-2โทรสาร 0-2446-8118-9

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น  

ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655โทรสาร 0-4324-3441

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่  

ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

โทรศัพท์ 0-5389-1535-6โทรสาร 0-5389-1534

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา  

ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จ.สงขลา 9000

โทรศัพท์ 0-7432-6510-1โทรสาร 0-7432-6506

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี  

อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000

โทรศัพท์ 045-242313-4โทรสาร 045-242301

E-mail : passport_ub@hotmail.com

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี  

ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3โทรสาร 077-274941

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา  

ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

โทร 044-243-132, 044-243-124โทรสาร 044-243-133

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี  

ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

โทร 042-212827, 042-212-318โทรสาร 042-222-810

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก

ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

โทร 055-258-131, 055-258-155, 055-258-173, 055-258-117

   

ท่านสามารถ สำรองคิว ทำพาสปอร์ตล่วงหน้า ได้

หลักเกณฑ์ระบบสำรองคิวล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ตและทางโทรศัพท์

เพื่อยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทาง

 

กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุลได้พัฒนาระบบสำรองคิวล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ตและทางโทรศัพท์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่านที่ประสงค์จะไปรับบริการทำหนังสือเดินทาง ณ กรมการกงสุล และสำนักงานหนังสือเดินทางฯ ในกรุงเทพฯ

1.      การสำรองคิวล่วงหน้าเป็นบริการเสริมพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่านที่ประสงค์จะยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทาง โดยไม่ต้องเสียเวลารอคิว

2.      ท่านสามารถสำรองคิวได้ทางอินเทอร์เน็ตที่นี่ หรือที่เว็บไซท์ www.consular.go.th โดยเข้าไปที่ “สำรองคิวทำหนังสือเดินทาง” หรือทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 02-982-8786

3.      การสำรองคิวเปิดบริการเฉพาะผู้ต้องการทำหนังสือเดินทางธรรมดาที่กรมการกงสุล ถนนเจ้งวัฒนะเท่านั้นและอาจจะขยายให้เลือกประเภท และสถานที่อื่นๆได้ในอนาคต

4.      การสำรองคิวจะต้องทำล่วงหน้า 2 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำการสำรองคิว วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)ก่อนวันที่ประสงค์จะไปทำหนังสือเดินทาง เช่น จะมาทำวันพฤหัสฯ ต้องสำรองคิวตั้งแต่วันจันทร์ และจะต้องไม่ทำล่วงหน้าเกินกว่า 10 วันทำการ

5.      ท่านสามารถเลือกช่วงเวลาสำรองคิวได้ 26 ช่วงเวลา ตั้งแต่เวลา 09.01 –09.15 น จนถึง เวลา 15.15-15.30 น.

6.      ท่านต้องใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลักที่มีอายุใช้งานได้ และชื่อ-นามสกุลปัจจุบันในการสำรองคิว

7.      เมื่อสำรองคิวได้แล้ว ท่านจะได้รับหมายเลขยืนยันคิวเพื่อนำไปแจ้งที่จุดรับบัตรคิว ณ สำนักงานหนังสือเดินทางที่ท่านได้สำรองคิวไว้

8.      ท่านจะต้องไปถึงสำนักงานหนังสือเดินทางที่ได้สำรองคิวไว้ 10 นาทีล่วงหน้าก่อนช่วงเวลาที่ได้สำรองไว้มิฉะนั้น จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ ซึ่งท่านจะต้องไปเข้าคิวตามลำดับก่อนหลังในระบบคิวปกติ

9.      หากการสำรองคิวไม่สมบูรณ์ ท่านจะไม่มีสิทธิ์ได้คิวตามวันและเวลาที่ได้สำรองไว้

10.  ท่านไม่สามารถสำรองคิวครั้งละมากกว่า 1 คิวได้ การสำรองคิวใหม่จะทำได้เมื่อท่านยกเลิกคิวของท่านที่มีอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น

11.  กองหนังสือเดินทางจะใช้ข้อมูลการสำรองคิวที่ปรากฏในฐานข้อมูลกองฯ ในการอนุญาตให้มีการใช้คิว ณ สำนักงานฯ ตามวันและเวลาที่ได้สำรองไว้เท่านั้น หากฐานข้อมูลกองฯ ไม่ปรากฏข้อมูลการสำรองคิวของท่าน ท่านจะไม่มีสิทธิ์ในการใช้คิว ในกรณีเช่นนี้ ท่านสามารถไปเข้าคิวตามลำดับก่อนหลังในระบบคิวปกติ ณ สำนักงานหนังสือเดินทางทุกแห่งได้

12.  กองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการจองคิว หากพบว่า มีการใช้เลขประจำตัวประชาชนไม่ถูกต้อง และชื่อ-นามสกุลไม่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันตามข้อมูลทะเบียนราษฎร

13.  ระบบสำรองคิวล่วงหน้าจะไม่ทำให้ท่านที่เข้าคิวในระบบคิวปกติ ต้องเสียเวลารอคิวนานขึ้น เพราะมีการจัดแยกช่องบริการสำหรับท่านที่ใช้ระบบสำรองคิวล่วงหน้า และระบบคิวปกติ เพื่อให้สามารถให้บริการในทั้งสองส่วนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

บริการช่วยเหลือสังคม
ศูนย์ประชาบดี โทร 1300
ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วย
เหลือสังคม โทร 0-2306-8951-2
ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยสังคม
โทร 0-2306-8934-5
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้า
มนุษย์ โทร 0-2642-7991-2 ต่อ 11
สหทัยมูลนิธิโทร 0-2381-8834-6,
0-2392-9397-8
สมาคมวางแผนครอบครัว
โทร 0-2245-7382-5
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
โทร 0-2229-5803-7
คลินิกชุมชนเวชกรรม (ปรึกษาคลินิก
หมอมีชัย) โทร 0-2229-4611-28
สมาคมเสริมสร้างครอบครัว
โทร 1761, 0-2622-2220

บริการข้อมูล-ร้องทุกข์ภาครัฐ
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล
โทร 1111
ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์
โทร 1548
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบ
รัฐบาล โทร 1376
ร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
โทร 1676
สายด่วนนายกรัฐมนตรี
โทร 0-2280-3000
ศูนย์บริการข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม
โทร 1765
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
โทร 1567
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
โทร 0-2287-3102


กระทรวงมหาดไทย


กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


กระทรวงการต่างประเทศ


กระทรวงศึกษาธิการ


สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สงวนลิขสิทธิ์ © THAIFOREIGNSPOUSE.COM
"สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทย"
เลขที่ 135/262 อาคาร 3 โสสุนครคอนโด ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
หน้าแรก | แผนผังเว็บไซต์ | แนะนำติชม | ลงโฆษณากับเรา