FEDERATION OF THAI AND FOREIGN SPOUSE NETWORKS ASSOCIATION OF THAILAND

หน้าแรก | แนะนำสมาพันธ์ | ข้อบังคับสมาพันธ์ | ข่าวสารและกิจกรรม | ชมรมและเครือข่าย | ติดต่อสมาพันธ์

User Login
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

     แนะนำสมาพันธ์ฯ
     ข้อบังคับสมาพันธ์ฯ
     ข่าวสารและกิจกรรม
     บทความและสาระน่ารู้
     ดาวน์โหลดเอกสาร
     ชมรมและเครือข่าย
     ติดต่อสมาพันธ์ฯ

รับข่าวสารของสมาพันธ์ฯ !
     เพียงกรอกอีเมล์ของท่านไว้ทางเรา จะจัดส่งข่าวสารต่างๆของสมาพันธ์ฯให้ ท่านทางอีเมล์

สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
  ผู้ชมวันนี้ 2 คน  
  ผู้ชมเดือนนี้ 139 คน  
  ผู้ชมทั้งหมด 44044 คน  
"ว่าด้วยการแต่งงาน"


          

สำหรับหญิงหรือชายไทยที่ต้องการแต่งงานกับชาวต่างชาติสามารถเลือกที่จะจดทะเบียนสมรส ภายใต้กฎหมายของไทย หรือภายใต้กฎหมายของประเทศคู่สมรสก็ได้ ซึ่งการจดทะเบียนสมรสถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะภายภาคหน้าในอนาคตนั้น เราไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง  

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายของประเทศคู่สมรสเราย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ

กรณีการจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายไทย คุณสามารถจดทะเบียนสมรสได้ที่อำเภอทุกแห่ง ส่วนในต่างประเทศก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้ที่สถานกงสุลและสถานทูตไทยในแต่ละประเทศ

ส่วนผู้ที่ต้องการจะจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายของประเทศคู่สมรส เพราะไม่สะดวกในกฎหมายไทย ก็สามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศคู่สมรสได้ ทั้งนี้เพื่อให้มีเอกสารรับรองในการที่จะรับสิทธิต่างๆ 

แต่ทั้งนี้คุณจะต้องศึกษาถึงกระบวนการและขั้นตอนของการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้อง เพื่อให้การสมรสนั้นสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ด้วย

ในส่วนของการถือ “สัญชาติ” ตามหลักสากลนั้น  “คน” ต้องมีสัญชาติเดียว กฎหมายไทยก็ไม่ให้ถือสองสัญชาติแต่ก็ไม่มีบทลงโทษกรณีที่ถือสองสัญชาติซึ่งกฎหมายไทยค่อนข้างจะดูแลผลประโยชน์ของคนไทยสูงดังนั้นหากบัตรประชาชนหรือเอกสารใดหมดอายุ ขอให้กลับมาต่ออายุ ด้วย

บางประเทศ เช่นไต้หวัน มีกฎหมายเข้มงวดให้คนต่างชาติที่แต่งงานกับชาวไต้หวันต้องเสียสัญชาติกรณีแบบนี้หากคุณไม่จดทะเบียนสมรส คุณอาจจะไม่ได้รับสิทธิหรือสวัสดิการอะไร

คุณสามารถมายื่น “ขอสละสัญชาติไทย” ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ในประเทศ คือ ที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ส่วนในต่างประเทศคือที่สถานทูตไทย

เมื่อสละสัญชาติไทยแล้วที่สำคัญต้องไปรับใบสำคัญประจำตัวใบต่างด้าวไม่เช่นนั้นจะขาดหายไปจากระบบราชการไทย และถ้าหากจะขอคืนสัญชาติไทยเมื่อไหร่ก็สามารถทำได้โดยนำเอาหลักฐานการสิ้นสุดของการสมรส เช่นทะเบียนหย่าหรือกรณีการเสียชีวิตของคู่สมรสมาแสดง เพื่อขอคืนสัญชาติก็ทำได้เช่นกันซึ่งขั้นตอนในการขอสัญชาติไทยคืนไม่ยากเหมือนกับคนต่างด้าวที่ไม่ใช่คนไทย

การสมรส(Marriage) คือการใช้ชีวิตร่วมกันของคนสองคน ซึ่งคนทั้งสองนั้นอาจจะเป็นเพศเดียวกันก็ได้ ในบางประเทศเช่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมยินยอมให้ผู้ชายจดทะเบียนสมรสกับผู้ชาย และผู้หญิงจดทะเบียนสมรสกับผู้หญิงได้โดยจะต้องยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสต่อที่ว่าการอำเภอหรือคอมมูนที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ โดยต้องใช้เอกสารสำคัญเช่นใบเกิด สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือแสดงความเป็นโสดหรือหย่าขาด ฯลฯรวมถึงสัญญาการจัดการทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำขึ้นโดยโนทารีส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแบ่งแยกทรัพย์สินจากกันโดยเด็ดขาดทั้งก่อนและหลังการสมรสซึ่งว่าที่สามีส่วนใหญ่ก็จะทำสัญญาดังกล่าวเพื่อรักษาทรัพย์สินของตนให้เป็นของตนเองตลอดไป

ขั้นตอนก่อนการสมรสมักจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนักเนื่องจากฝ่ายชายจะ “กระตือรือร้น” ทำทุกอย่างเพื่อให้การสมรสบรรลุผล

การจดทะเบียนสมรสจะต้องจดทะเบียนณ ที่ว่าการอำเภอหรือคอมมูนต่อหน้านายทะเบียนท้องถิ่น ที่จะทำการตรวจสอบเอกสารและแจ้งสิทธิ หน้าที่ของคู่สมรสให้ทราบ ก่อนที่จะทำการถามว่า คุณ.....ต้องการสมรสกับนาย ........หรือไม่

สิทธิและหน้าที่ที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมอบให้แก่กันหลังการสมรสคือจะต้องใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกัน มีความซื่อสัตย์ต่อกันให้ความช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งถือเป็นภาระต่อการสมรสขั้นปฐม

ภาระต่อการสมรสขั้นรองคือ การจัดการทรัพย์สินถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำสัญญาแบ่งแยกทรัพย์สินก็จะตกอยู่ในรูปแบบคล้ายกฎหมายครอบครัวไทย คือทรัพย์สินก่อนสมรสยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินต่อไปทรัพย์สินที่เกิดขึ้นภายหลังการสมรสให้ตกเป็นของทั้งสองฝ่ายๆละครึ่งหนึ่ง

เมื่อสมรสแล้วทั้งสองฝ่ายก็จะต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันภายในบ้านเดียวกันต้องมีภาระในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดในชีวิตประจำวันฝ่ายละครึ่งเว้นแต่ฝ่ายใดที่ไม่มีรายได้ก็ให้อีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบแทน นอกจากนั้นบ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกัน แม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายชายถ้าจะทำการขายก็ต้องให้ฝ่ายหญิงตกลงยินยอมด้วย

คู่สมรสต่างชาติใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนที่แปลกใหม่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องความเป็นอยู่ สังคม ภาษาตลอดจนวัฒนธรรม อีกทั้งต้องพบกับปัญหารอบตัวมากมายทั้งเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัว การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การหย่าร้าง มีชู้แต่งงานใหม่ หรือสิทธิ์ในการดูแลบุตร เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้คนไทยคู่สมรสต่างชาติ ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการขาดความรู้ด้านกฎหมาย “สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทย” จึงถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้เรื่องกฎหมายแก่คนไทยคู่สมรสต่างชาติ ก่อประโยชน์แก่คู่สมรสต่างชาติและครอบครัวเป็นอย่างมาก  โดยจะให้ความรู้ในเรื่องของกฎหมายการพักอาศัยและเข้าออกประเทศการยื่นขอหลักฐานต่างๆและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องรอบตัวทั้งเรื่องของการสมรส การหย่าร้าง การฟ้องร้องสิทธิ์ในการดูแลบุตรและกฎหมายมรดกเป็นต้น

การหลอกลวงหญิงไทยเพื่อลักลอบค้ายาเสพติด

 การหลอกลวงหญิงไทยให้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อลักลอบลำเลียงขนยาเสพติดเข้ามายังประเทศไทยหรือขนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งยังมีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องและมีสถิติจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่บางคนก็รู้ว่าไปขนยาเสพติดแต่จากการโน้มน้าวชักจูงและล่อหลอกโดยคนใกล้ชิด และด้วย “เงินค่าจ้าง” จำนวนมากรวมทั้งการได้มี “โอกาส” เดินทางไปท่องเที่ยวใน “ต่างประเทศ”  ส่งผลให้กลุ่มคนไทยที่ยังมี “พฤติการณ์” เช่นนี้ถูกล่อลวงได้อย่างง่ายดาย เพราะเป็นประเภทที่เรียกว่า     “รู้ว่าเขาหลอก แต่ก็เต็มใจให้เขาหลอก” จึงทำให้ยากแก่การแก้ไขหรือป้องกัน   

ผู้ที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงไทยที่ใช้วิธีกลืนยาเสพติดลงท้องแต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลและทันสมัย ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจพบได้อย่างง่ายดาย โดยการเอ็กซ์เรย์ เมื่อถูกจับได้ จึงได้ถูกศาลภายในประเทศนั้นๆ พิพากษาลงโทษประหารชีวิต และอีกหลายๆ คนต้องถูกจำคุกในต่างประเทศ โดยไม่มีญาติหรือบุคคลใกล้ชิดรับรู้หรือรับทราบเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้น

สถิติของคนไทยผู้ถูกจับกุมในต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี ซึ่งจากสถิติระหว่างปี2549-2552 พบว่า มีชาวไทยที่ถูกจับกุมคดียาเสพติดในต่างประเทศ 148 คน ใน 16 ประเทศได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย อาหรับเอมิเรสต์ ปากีสถาน ฮ่องกง ออสเตรเลีย บาห์เรนมาเลเซีย บราซิล อาร์เจนตินา สเปน อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ โปตรุเกต และไต้หวันถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตแล้วจำนวน 13 คน ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 25 รายและจำคุกระหว่าง10-18 ปี จำนวน 24 ราย ที่เหลืออยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี

จากสถานการณ์ดังกล่าว แม้ว่าจะมีหน่วยงานราชการรวมถึงองค์กรอิสระหลายหน่วยงานช่วยกันหาวิธีป้องกันโดยการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ  กระทรวงแรงงานกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกัน ให้เป็นแบบ “บูรณการ” มากยิ่งขึ้น โดยการทำงานให้เป็นไปในลักษณะการสนับสนุนข้อมูลซึ่งกันและกัน (Sharing) ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละหน่วยงาน

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างให้เกิดแนวทางการต่อต้านการลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากนักค้ายาเสพติดต่างชาติและป้องกันมิให้ชาวไทยโดยเฉพาะผู้หญิงไทย  มิให้ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประชุมดังกล่าวส่วนใหญ่เน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการป้องกันไม่ให้กลุ่มคนไทยลักลอบค้า รับจ้าง หรือถูกหลอกลวงให้ขนยาเสพติดแนวทางการป้องกันกลุ่มชาวต่างชาติไม่ให้ลักลอบขนยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทยแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มคนแอฟริกันตะวันตกและชาวต่างชาติรับทราบมาตรการปราบปรามยาเสพติดที่รุนแรงของไทยเกี่ยวกับการลักลอบขนยาเสพติดแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศตระหนักในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่จะร่วมกันเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดและแนวทางการป้องกันกลุ่มผู้ลักลอบค้ายาเสพติดผ่านระบบขนส่งทางไปรษณีย์และบริการรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยทุกหน่วยงานได้ระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกิจกรรมสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดและปัญหาชาวแอฟริกันตะวันตก

การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ของสำนักงาน ป.ป.ส.การคัดกรองชาวแอฟริกันตะวันตกหรือชาวต่างชาติอื่นๆอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้นของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโทษของการขนยาเสพติดบนสติ๊กเกอร์ติดพาสปอร์ตและการประชาสัมพันธ์อักษรวิ่งของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศการสุ่มตรวจค้นตามแหล่งท่องเที่ยวของชาวแอฟริกันตะวันตกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของทุกหน่วยงานน่าจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากสถานการณ์ดังกล่าว  แสดงให้เห็นว่า  ยังมีชาวไทยโดยเฉพาะหญิงไทยที่มีความเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเครือข่ายการลำเลียงและการค้ายาเสพติด หากพวกเราไม่ช่วยกันร่วมแรงร่วมใจระมัดระวังบุคคลที่เข้ามาชักชวนญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก  เพื่อให้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อทำงานที่ได้ค่าจ้างสูงแล้วล่ะก็

ไม่แน่ว่า....พวกเขาอาจจะตกเป็นเหยื่อของขบวนการเหล่านี้จนอาจถูกจับกุมและได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิตในต่างประเทศก็ได้

การหลอกลวงหญิงไทยเพื่อค้าประเวณี หรือค้ามนุษย์

ข่าวที่ นายถาวร เสนเนียม มท.3 ประสานงานกับรัฐมนตรีมหาดไทยประเทศมาเลเซียเพื่อขอตัวหญิงไทยจำนวน 400 คน ซึ่งถูกล่อลวงไปขายบริการทางเพศและถูกจับกุมถูกคุมขังอยู่ในคุกของรัฐต่าง ๆ 13 รัฐในประเทศมาเลเซีย“ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่” เพราะในอดีตนั้น หลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่านมาได้ประสานงานกับรัฐบาลมาเลเซีย ขอตัวนักโทษไทยที่ถูกคุมขัง     ในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง แรงงานเถื่อน และค้าประเวณี กลับมาแล้วหลายต่อหลายครั้งแต่จำนวนของผู้ถูกหลอกลวงไปค้าประเวณี และถูกจับกุม ยังไม่เคยหมดแถมมีแต่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นใน  ทุก ๆ ปี
   
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก   การขอตัวนักโทษเหล่านี้กลับประเทศ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

เพราะต้นเหตุของปัญหาการล่อลวง หลอกลวง และเต็มใจไปขายบริการทางเพศไปเป็นแรงงานเถื่อน มีต้นตออยู่ในประเทศไทยของเรานี่เอง
   
ข้อมูลที่ชัดเจนซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยรู้กันทั้งประเทศคือปัจจุบันการหลอกลวงหรือล่อลวงหญิงไทยไปค้าประเวณียังมีอยู่ส่วนหญิงไทยที่เต็มใจไปขายบริการทางเพศก็เป็นอีกขบวนการหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับการถูกล่อลวง แต่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันคือเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียในฐานะนักท่องเที่ยว แต่ไปหลบซ่อนเพื่อค้าประเวณีและขายแรงงานในลักษณะอาชีพต่าง ๆ แล้วถูกนายจ้างโกงค่าแรง ถูกจับตัวส่งเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้มีนักโทษชาวไทยกระจายไปทั่วใน 13 รัฐของมาเลเซีย

หญิงที่ถูกล่อลวงส่วนใหญ่เป็นหญิงสาวที่มาจากภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยมี “หัวลำโพง” เป็นจุดหมาย ซึ่งแก๊งล่อลวงมนุษย์จะชักนำว่ามีงานให้ทำในภาคใต้กับหญิงสาวอีกส่วนหนึ่งที่ถูก “นายหน้า” ไปล่อลวงถึงบ้านในภาคต่าง ๆเพื่อให้ไปทำงานที่มีรายได้ดี

เมื่อเหยื่อหลงเชื่อจะถูกส่งมาที่ภาคใต้โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “ชุมทาง” ของการค้ามนุษย์ส่งไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เพราะเป็น “ประตู” ในการลำเลียงหญิงสาวและชายหนุ่มที่ต้องการทำงานที่มีรายได้ดีกว่างานอื่น ๆ
   
ปัจจุบัน “หาดใหญ่” จึงเป็นชุมทางของทั้งแก๊งลูกแพะ แก๊งลูกหมู แก๊งนำชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองและส่งไปประเทศที่ 3

ขบวนการค้าแรงงานเถื่อนขบวนการนำชาวโรฮิงยาเพื่อส่งไปยังประเทศที่ 3 และที่ยังอยู่ยงคงกระพันคือเป็นแหล่งของการส่งหญิงสาวไปขายบริการทางเพศ ทั้งการ     ล่อลวงและด้วยความเต็มใจของหญิงสาวเหล่านั้น

โดยที่ เอเย่นต์ค้ามนุษย์ในหาดใหญ่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ จัดหาหนังสือเดินทางปลอม และ จัดส่งให้เดินทางจากอ.หาดใหญ่ ไปยังประเทศมาเลเซีย โดยประสานกับเอเย่นต์ในมาเลเซียและสิงคโปร์
    
ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันชุมทางหาดใหญ่จะไม่ใช่ชุมทาง “ค้ามนุษย์” ที่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต แต่ก็ยังเป็นชุมทาง “ค้าคน” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
   
หญิงไทยที่ถูกส่งตัวไปค้าประเวณีในต่างประเทศมีทั้งที่ถูกล่อลวงและไปด้วยความสมัครใจ

ที่ถูกล่อลวงส่วนใหญ่จะถูก “เอเย่นต์” ในประเทศมาเลเซียนำไป “กักขัง” และ “หลบซ่อน” ตามโรงแรมเล็ก ๆ บ้านเช่า อพาร์ตเม้นท์ บริเวณชานเมือง และจะนำตัวไปให้“ลูกค้า” ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ตกลงกันไว้ และอีกจุดหนึ่งคือที่ “แคมป์” ของคนงานก่อสร้าง ซึ่งมีผู้ซื้อบริการทางเพศที่เป็นคนงานจากชาติต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งแรงงานไทยด้วยกันเอง

ส่วนใหญ่การถูกจับของหญิงไทยมีด้วยกัน 3 วิธีคือ หนึ่ง..เจ้าหน้าที่สืบทราบและจับกุมได้ สอง..คือถูก “เอเย่นต์” แจ้งให้จับหลังจากที่เห็นว่าได้ประโยชน์น้อยลงและสาม..หญิงไทยหลบหนีออกมาจากที่ถูกกักขังเองจนถูกตำรวจจับ ซึ่งโทษตามกฎหมายมาเลเซียนั้นมีตั้งแต่ติดคุก 2 ถึง 5 ปี แล้วแต่ข้อหาที่ถูกตั้ง

ส่วนข้อหาในการกระทำความผิดนั้น มีตั้งแต่ หลบหนีเข้าเมืองทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และค้าประเวณี
   
จะเห็นได้ว่า “ต้นตอ” ของปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ “ในประเทศไทย”และมีสถานที่ซึ่งควร “เฝ้าระวัง” “ป้องกัน” และ “ตรวจค้น” กวาดล้างจับกุมในกรุงเทพฯจนมาถึงที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพียงไม่กี่จุดเท่านั้น

หาก “รัฐบาล” ต้องการให้ปัญหาการค้ามนุษย์ “ยุติ” ลง “ไม่ใช่เรื่องยากเย็น” แต่อย่างใด

แต่น่าแปลก..ที่ “ทุกรัฐบาล” และ “ทุกนักการเมือง” เลือกที่จะ “เกาไม่ถูกที่คัน” โดยแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” กันทั้งสิ้น   
   
และถ้าวิธีการ “แก้ปัญหาการล่อลวงมนุษย์” เพื่อเป็น “สินค้า” ยังคงรูปแบบเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ “รัฐบาลไทย” เราคงจะมี “กิจกรรม” ต้องไปรับ “หญิงไทย” ออกจาก “คุก” ของแต่ละประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ใช่เพียงแค่จากประเทศมาเลเซียเท่านั้น

เพราะ...เพียงประเทศมาเลเซียเพียงประเทศเดียว ยังเกิดขึ้นทุกปี ปีละหลายร้อยคน ทั้งนี้เพื่อให้ “นักการเมือง” และ “หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ได้ “สร้างภาพ” กันไปเรื่อย ๆ

ทั้ง ๆ ที่ “รากเหง้า” ของปัญหายังมีอยู่เช่นเดิม และดูเหมือนว่าจะ “หยั่งรากลึก” ลงเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด…

คุณทราบหรือไม่ว่า? การตบตี ลบหลู่ ด่าทอ ล้วนถือว่าเป็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว!
การใช้ความรุนแรงในครอบครัวก็คือการทำร้ายกันเองของคนในครอบครัว นอกจากการทำร้ายร่างกายแล้วยังรวมถึง การทำร้ายจิตใจเช่น ทอดทิ้ง ใช้คำพูดลบหลู่ด่าทอ การทารุณหรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ การกดขี่ด้านแรงงาน การเหยียดหยาม การใช้อำนาจบังคับ การบังคับหรือจำกัดด้านเงินทองหรือกีดกันเสรีภาพ ทั้งหมดนี้ล้วนถือว่าเป็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อย่าคิดว่ามีเพียงการทำร้ายร่างกายเท่านั้นจึงถือว่าเป็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หากคุณรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสุข หรือรู้สึกปวดร้าว มาเป็นเวลายาวนาน นั่นแสดงว่าคุณคือเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

ผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่ควรละเลย

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่เพียงทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่ำต้อย โดดเดี่ยว ไร้ที่พึ่ง หวาดกลัว กลัดกลุ้ม กังวล โทษตัวเอง ท้อถอย เศร้าโศก ฉุนเฉียว หรืออาจนำไปสู่โรคภัยต่างๆที่ไม่ทราบสาเหตุเช่น ปวดหลัง ปวดหัว วิงเวียน นอนไม่หลับ นอนมากเกินไป เจ็บหน้าอก ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งล้วนเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว นอกจากนี้เด็กๆที่พบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว แม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายทางร่างกาย แต่มักจะทำให้เด็กๆเหล่านี้มีความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุผล เช่น คิดวาโลกภายนอกไม่มีความมั่นคง พฤติกรรมของพ่อแม่ยากที่จะคาดเดาได้ จนเด็กเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่และคิดว่าการใช้ความรุนแรงเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดี เพราะมีความคิดว่าฉันจะต้องควบคุมทุกอย่างไว้จึงจะดีที่สุด หรือคิดว่าฉันเป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อแม่ทะเลาะกัน คนเราบางครั้งจำเป็นต้องถูกตีบ้างและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็กก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น ทำให้เป็นผู้ใหญ่เกินอายุ ท้อถอย หลบหนี ใจร้อน โมโหง่าย พยายามเรียกร้องความสนใจ มีเพศสัมพันธ์เร็วเกินไป ดังนั้น การใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่เพียงเป็นการทำร้ายผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ครอบครัวและสังคมต้องมาแบกรับภาระที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังอีกมากมายด้วย

เมื่อประสบกับปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คุณควรทำอย่างไร?

อันดับแรกต้องสงบสติอารมณ์ของตนเองให้ได้ อย่าใช้คำพูดที่ท้าทายฝ่ายตรงข้าม รีบหาทางออกจากสถานที่เกิดเหตุ หลบไปพักอยู่กับเพื่อนบ้านหรือเพื่อนฝูงชั่วคราว หากอยู่ในสถานการณ์อันตรายต้องป้องกันตนเองก่อน แล้วตะโกนขอความช่วยเหลือ เพื่อให้คนอื่นหรือเพื่อนบ้านมาช่วย

เมื่อประสบกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวต้องพยายามรวบรวมหลักฐานเอาไว้ หากเป็นการทำร้ายร่างกาย ขณะที่ไปพบแพทย์อย่าลืมให้แพทย์ตรวจบาดแผลและออกใบรับรองแพทย์พร้อมถ่ายภาพบาดแผลเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากเป็นการทำร้ายจิตใจ สามารถบันทึกเทปหรือจดบันทึกเอาไว้ หากไม่แน่ใจว่าสิ่งที่รวบรวมไว้จะใช้เป็นหลักฐานเอาผิดฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่ ก็ไม่ต้องรีรอ ให้พยายามเก็บรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเอาไว้ และขอให้เพื่อนบ้านหรือเพื่อนฝูง เป็นพยานให้ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยให้คุณหลุดพ้นจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และได้รับคำสั่งคุ้มครอง ขณะเดียวกันได้รับสิทธิในการยืดอายุใบถิ่นที่อยู่ด้วย
จะช่วยญาติมิตรที่เป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างไร?

การป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้น นอกจากการใช้อำนาจรัฐเข้าไปให้ความคุ้มครองช่วยเหลือแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและควบคุมผู้ที่ใช้ความรุนแรงแล้ว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราควรช่วยกันป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวด้วย เพราะการที่ญาติมิตรถูกทำร้ายแต่แกล้งทำเป็นมองไม่เห็น ก็เท่ากับปล่อยให้การใช้ความรุนแรงคงอยู่ต่อไป แต่จะช่วยญาติมิตรที่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างไร? นอกจากแนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะแล้ว  ที่สำคัญก็คือต้องคอยให้กำลังใจ
 
ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมักจะตกอยู่ในวงจรของการถูกทำร้าย ไม่อาจตัดสินใจหรือพาตนเองให้หลุดพ้นจากวงจรดังกล่าวได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา อย่ากล่าวโทษพวกเธอเพราะอาจทำให้พวกเธอถอยกลับเข้าไปสู่โลกส่วนตัวและไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากภายนอกอีก สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตร การสื่อสารกับญาติพี่น้อง หรือถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมา สามารถโทรปรึกษา สายตรง…………………….. มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ช่วยให้ได้ระบายความรู้สึกและคอยให้กำลังใจ แนะนำและปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ถูกต้อง นอกจากนี้บางกรณียังสามารถช่วยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ แต่ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรก็ตามอย่าใช้ความรุนแรงมาแก้ไขปัญหา เพราะนอกจากไม่อาจแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

 

บริการช่วยเหลือสังคม
ศูนย์ประชาบดี โทร 1300
ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วย
เหลือสังคม โทร 0-2306-8951-2
ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยสังคม
โทร 0-2306-8934-5
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้า
มนุษย์ โทร 0-2642-7991-2 ต่อ 11
สหทัยมูลนิธิโทร 0-2381-8834-6,
0-2392-9397-8
สมาคมวางแผนครอบครัว
โทร 0-2245-7382-5
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
โทร 0-2229-5803-7
คลินิกชุมชนเวชกรรม (ปรึกษาคลินิก
หมอมีชัย) โทร 0-2229-4611-28
สมาคมเสริมสร้างครอบครัว
โทร 1761, 0-2622-2220

บริการข้อมูล-ร้องทุกข์ภาครัฐ
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล
โทร 1111
ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์
โทร 1548
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบ
รัฐบาล โทร 1376
ร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
โทร 1676
สายด่วนนายกรัฐมนตรี
โทร 0-2280-3000
ศูนย์บริการข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม
โทร 1765
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
โทร 1567
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
โทร 0-2287-3102


กระทรวงมหาดไทย


กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


กระทรวงการต่างประเทศ


กระทรวงศึกษาธิการ


สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สงวนลิขสิทธิ์ © THAIFOREIGNSPOUSE.COM
"สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายคนไทยคู่สมรสต่างชาติแห่งประเทศไทย"
เลขที่ 135/262 อาคาร 3 โสสุนครคอนโด ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
หน้าแรก | แผนผังเว็บไซต์ | แนะนำติชม | ลงโฆษณากับเรา