รับข่าวสารของสมาพันธ์ฯ !
สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์
ผู้ชมวันนี้ |
คน |
|
ผู้ชมเดือนนี้ |
คน |
|
ผู้ชมทั้งหมด |
คน |
|
|
|
"การสมรสและการหย่าในประเทศฝรั่งเศส"
กระบวนการ สถิติ คำแนะนำต่างๆ
การบรรลุนิติภาวะทางกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสมีผลทางกฎหมายเมื่อหญิงมีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ อย่างไรก็ดี หญิงที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 18 ปี บริบูรณ์ สามารถสมรสได้โดยความยินยอมของบิดามารดาเพื่อยินยอมให้ทำการสมรสได้ แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกำลังวางแผนยกเลิกความยินยอมประเภทนี้ บุคคลซึ่งไม่ได้เป็นพลเมืองฝรั่งเศสมีสิทธิสามารถสมรสในฝรั่งเศสได้ แต่หญิงที่ถูกหย่าร้างแล้วและหญิงหม้ายจะต้องรอคอยให้ระยะเวลา 300 วันตามกฎหมายพ้นไปก่อน หรือวันที่คู่สมรสเสียชีวิต ก่อนจะได้รับอนุญาตให้สามารถสมรสใหม่ (ในกรณีตั้งครรภ์)
ในจำนวนประชากรฝรั่งเศสทุก 10,000 คน จะมีพลเมืองฝรั่งเศสเพียง 50 คู่ เท่านั้น ซึ่งสมรส ในแต่ละปี เป็นอัตราการตัวเลขที่น้อยในทวีปยุโรปเมื่อเทียบกับประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกซึ่งอายุเฉลี่ยของการสมรสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเกณฑ์อายุเฉลี่ย 30 ปี ในกลุ่มชาย และ ในเกณฑ์อายุ 28 ปี ในกลุ่มหญิง โดยหญิงฝรั่งเศสจะเริ่มตั้งครรภ์แรกก่อนอายุครบ 30 ปี บริบูรณ์ พลเมืองชาวฝรั่งเศสจำนวนมากถึง 7.5 ล้านคน มีชีวิตโดยปราศจากคู่ชีวิต ซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนมากถึง 1 ล้านคนเป็นบุคคลซึ่งเคยสมรสและหย่าร้างโดยจำนวนบุคคลกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนตัวเลขคู่รักที่อยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 4 เท่า รวมเป็นจำนวน 2 ล้านคน ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา (ในกลุ่มประเทศยุโรป ประเทศสวีเดนเป็นประเทศที่พลเมืองมีอัตราการสมรสต่ำสุด) ประมาณการถึง 40-50% ของจำนวนคู่รักที่สมรสกันได้อาศัยอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภริยาเป็นระยะเวลา 2 ปี คู่รักส่วนใหญ่ ไม่นิยมจดทะเบียนสมรส คู่สมรสเหล่านี้อยู่อาศัยฉันท์สามีภรรยาเท่านั้น กฎหมายฝรั่งเศสจำแนกความแตกต่างระหว่างคู่รักซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างไม่เป็นทางการ (en union libre) กับ คู่รักซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นทางการ (en concubinage)
ในส่วนของคู่รักซึ่งงอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ (en concubinage) มีสิทธิพิเศษทางกฎหมายเช่นเดียวกับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสรวมถึงความมั่นคงประกันสังคม เพื่อให้คุณสมบัติ
ดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ ท่านจำเป็นต้องได้รับใบรับรองซึ่งเป็นเอกสารที่ออก ให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดจากหน่วยงานในพื้นที่เพื่อยืนยันว่าท่านกับคู่สมรสอาศัยฉันท์สามีภรรยาถูกต้อง(ประกอบด้วยเอกสารบัตรแสดงตน ใบยืนยันถิ่นที่อยู่ และพยาน 2 คน) แม้ว่าหน่วยงานในเขตพื้นที่ไม่มีหน้าที่หรือความจำเป็นในการออกเอกสารดังกล่าวก็ตาม ท่านกับคู่สมรสของท่านสามารถลงนามอย่างเป็นทางการเพื่อรับรองเจตจำนง (attestation sur lhoneur) ว่าท่านและคู่สมรสอาศัยอยู่ด้วยกัน ข้อเสียเปรียบประการสำคัญของการอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างเป็นทางการ(concubinage) นั้น ไม่ได้รับการยอมรับภายใต้กฎหมายมรดกฝรั่งเศส ดังนั้น คู่สมรสจะได้รับมรดกอันพึงได้ในฐานะบุคคลซึ่งมีสถานภาพไม่ไเป็นทายาทโดยธรรม และคู่สมรสไม่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญของคู่สมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิต
เอกสารซึ่งศาลฝรั่งเศสออกให้ (A pacte civile de solidarite) ซึ่งศาลยุติธรรมฝรั่งเศส จะรับรองสามารถใช้เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในการสมรสเฉพาะในบางกรณีเท่านั้น ในบางพื้นที่อาจมีความเป็นไปได้ที่คู่รักจะเข้าพีสมรสแบบไม่เป็นทางการ (unofficial ceremony) อย่างไรก็ดี การสมรสระหว่างชายกับชายยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศฝรั่งเศส (ในการรวมกลุ่มของบุคคลซึ่งรักบุคคลเพศเดียวกันในกรุงบอร์กโดซ์ (Bordeaux) เป็นการกระทำที่กฎหมายฝรั่งเศสยังไม่ยอมรับสถานภาพตามกฎหมาย)
ตามสถิติประชากรพบว่าเด็กชาวฝรั่งเศสคิดเป้นจำนวน 40% เป็นเด็กฝรั่งเศสอีกหนึ่งในห้าส่วนเป้นเด็กซึ่งเกิดนอกสมรส เด็กในกลุ่มนี้ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโยบิดามารดาเพียงคนเดียว (85% ของผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กเป็นผู้หญิง) ซึ่งสถานภาพบุตรนอกกฎหมายจะไม่ปัญหาเหมือน ดังเช่นที่เคยเกิดในอดีต เด็กทุกคนซึ่งเกิดนอกสมรสมีสิทธิโดยเสมอภาค ซึ่งมารดาที่ไม่ได้สมรส (m?re c?libataire) ได้รับเงินสวัสดิการสังคม รัฐบาลฝรั่งเศสให้สวัสดิการสังคมแก่กลุ่มมารดา ซึ่งมีบุตรนอกสมรสอย่างเพียงพอ
ขั้นตอนการสมรสในประเทศฝรั่งเศส
การเตรียมการสมรสในฝรั่งเศสนั้น คู่รักคนใดคนหนึ่งต้องแสดงความประสงค์ต่อหน่วยราชการในเขตพื้นที่ตามภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ก่อนกำหนดวันจัดสมรส เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน (คู่รักต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 40 วัน หรือสรุปได้ว่าคู่รักต้องอาศัยอยู่ในภูมิลำเนาเป็นระยะเวลา 30 วัน รวมกับระยะเวลาอีก 10 วัน สำหรับการประกาศให้สาธารณชนทราบ)
เจ้าสาวและเจ้าบ่าวจะต้องมีพยานในการสมรสฝ่ายละหนึ่งคนหรือสองคนซึ่งคู่สมรสต้องแจ้งชื่อพยานสมรสให้หน่วยงานราชการในเขตภูมิลำเนาทราบเมื่อมีการเตรียมการสมรส คู่รักต้องจัดเตรียมเอกสารหนังสือเดินทาง ใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ (หากมี) ใบสูติบัตร (ตรวจลงตราโดยสถานกงสุล ในเขตพื้นที่ซึ่งคู่รักเป้นพลเมืองภายในระยะเวลา 6 เดือน) เอกสารยืนยันการมีหลักฐานถิ่นที่อยู่ ในประเทศฝรั่งเศส และใบรับรองแพทย์ซึ่งรับรองผลภายในระยะเวลา 2 เดือน (กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามข้อมูลความรู้ด้านล่าง) บุคคลซึ่งเคยสมรสแล้วและหย่าร้างหรือบุคคลซึ่งเป็นหม้ายจำเป็น
ต้องแสดงเอกสารใบหย่าหรือใบมรณะบัตรเพื่อเป็นเอกสารสำคัญเมื่อท่านไปติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ท่านอาจจำเป็นต้องแสดง หนังสือรับรองความเป็นโสด certificate de celibat (ไม่ได้หมายความว่าท่านต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะอยู่เป็นโสด แต่เพื่อแสดงว่าท่านยังไม่สมรส ซึ่งเอกสารสำคัญนี้ทางสถานทูตจะรับรองเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย a notarized Affadavit of law (certificat de coutume) มีผลใช้ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยทนายความในประเทศที่ท่านเป็นพลเมืองเป็นผู้ดำเนินการให้เพื่อยืนยันว่าท่านมีอิสระสามารถดำเนินการสมรสได้ ในพิธีสมรส ในโบสถ์ ท่านอาจต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบรับรองคริสต์ศาสนิกชน เอกสารทุกฉบับจะต้องรับรองเอกสารถูกต้องโดยสมบูรณ์ในประเทศซึ่งท่านเป็นพลเมืองและแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยนักแปลซึ่งมีใบอนุญาตสามารถแปลเอกสารและมีความสามารถแปลเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ภายในระยะเวลา 2 เดือน ก่อนการสมรส คู่รักทั้งสองจำเป็นต้องผ่านการทดสอบทางการ
แพทย์ (certificate d examen m?dical pr?nuptial) รวมถึงการตรวจเลือดและการเอ็กซเรย์
ทรวงอก โดยสามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายเงินประกันสังคม การตรวจทางการแพทย์มีวัตถุประสงค์
เพื่อตรวจความเข้ากันได้ของกรุ๊ปโลหิตของคู่รัก แม้ว่าการเกิดขึ้นของโรคเอดส์จะนำไปสู่นัยสำคัญ
ของการตรวจสอบ ผลการทดสอบทางการแพทย์ถือเป้นความลับ และไม่สามารถระงับพีธีสมรส
ที่จะเกิดขึ้นได้ หากหญิงซึ่งถูกหย่าร้างหรือหญิงหม้ายประสงค์จะสมรสใหม่ภายในระยะเวลา 300
วัน นับตั้งแต่วันหย่าหรือวันที่คู่ชีวิตเสียชีวิต จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
สำหรับพิธีสมรสในโบสถ์ท่านจำเป็นต้องเข้าร่วมในหลักสูตรเตรียมตัวก่อนการสมรส (preparation de mariage course)
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้อง ท่านจะได้ใบรับรองก่อนการสมรส ส่วนการแจ้งประกาศแจ้งการสมรส (bans) จะต้องลงประกาศพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการเป็นระยะเวลา 10 วัน
ก่อนพิธีสมรส ณ หน่วยงานที่ทำการของเมืองตามกำหนดการสมรส
การสมรสตามแบบทางกฎหมายมีนายกเทสมนตรีหรือผู้ช่วยหรือผู้แทนได้รับมอบหมาย
ให้ดำเนินการเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่เป็นสักขีพยานเพื่อให้การสมรสถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบกำหมายประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี คู่รักจำนวนมากถึง 50% เลือกทำพิธีมงคลสมรสในโบสถ์
แต่นั่นไม่ได้มีความแตกต่างในทางกฎหมาย และจำเป็นต้องกระทำภายหลังทำการสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆสำหรับการสมรสในประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน
ราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะมีการเก็บเงินค่าทำการสมรสเพื่อบริจาคช่วยเหลือแก่หน่วยงานการ
กุศลต่างๆ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์แก่ส่วนรวม
ท่านสามารถขอรับสำเนาใบจดทะเบียนสมรสได้ที่ marie คู่สมรสจะได้รับหนังสือของ
ครอบครัว (vivret de famille) ซึ่งเก็บข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เช่น วันเกิดบุตร การหย่า หรือการเสียชีวิต จะบันทึกในหนังสือเล่มนี้
ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมรสในประเทศฝรั่งเศส (และประเทศ
อื่นๆ) ได้ที่เว็บไซต์ของ Confetti Network (www.confetti.co.uk) ซึ่งจัดพิมพ์ การสมรสในต่างประเทศ : คำแนะนำในการสมรสในต่างประเทศ
ระบบการแบ่งทรัพย์สินสมรสในฝรั่งเศส
การสมรสนั้นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องกับระบบการสมรส (regime matrimonial)
ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส หรือการแบ่งทรัพย์สินหลังการหย่า
หรือเมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หากท่านแต่งงานในประเทศ
ฝรั่งเศส ผลในทางกฎหมายเพื่อมีสถานภาพสมรสจะเกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆ ในที่ดิน ไม่ว่าท่านจะมี
ภูมิลำเนาอยู่ที่ใดก็ตาม และทรัพย์สินต่างๆ หากท่านอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส
ระบบการสมรสในฝรั่งเศส (regime matrimonial) มี 4 แบบ ได้แก่ ระบบการแบ่งทรัพย์สินแบบรวม 2 แบบ (regime communautaire) และระบบการแบ่งทรัพย์สินแบบแยก
อีก 2 แบบ (regime separatiste) ภายใต้ระบบการแบ่งทรัพย์สินสากลแบบรวมนั้น (communaut?
universelle) คู่สมรสมีส่วนร่วมในทรัพย์สินและหนี้สินร่วมกัน และภายใต้สินสมรสนั้น (communaut? r?duite aux acqu?ts) คู่สามีภรรยายังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้มาก่อนสมรส (และทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังการสมรสโดยการรับมรดกและการให้โดยเสน่หา) ขณะที่ทรัพย์สิน
ทั้งหมดซึ่งได้มาร่วมกันหลังจากการสมรสถือเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน ในเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน (separation de biens) คู่สมรสมีสิทธิในทรัพยืสินในส่วนของตน หากการสมรส
สิ้นสุดลงทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างการสมรสจะต้องถูกแบ่งเท่ากันระหว่างสามีและภรรยา
การทำสัญญาการสมรสไม่ได้เป็นข้อบังคับตามกฎหมาย แต่แนะนำให้ทำไว้ถ้าจำเป็น
แนะนำให้ทำกับหน่วยงานศาลที่เกี่ยวข้องกับการสมรส (notaire) คิดค่าธรรมเนียมบริการเป็นจำนวนเงินอย่างน้อย 300 ยูโร ในการทำสัญญาสมรสนี้ หากท่านสมรสในฝรั่งเศสและท่านไม่ได้ทำสัญญาการสมรส ท่านจะต้องปฏิบัติตามระบบการแบ่งทรัพย์สินโดยรวมตามกฎหมาย (communal
regime) แต่หากท่านเลือกระบบการแบ่งทรัพย์สินแบบแยก (separatist regime) ตามปกติจะมี
รายละเอียดในสัญญารับรองถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับวีแบ่งทรัพย์สินของท่าน หากท่านสมรส
ในต่างประเทศและกำลังจะซื้อบ้านในฝรั่งเศส หน่วยงานศาลที่เกี่ยวข้องกับการสมรส (notaire)
ในพื้นที่ภูมิลำเนาของท่านจะสอบถามถึงประเภทของระบบการแบ่งทรัพย์สินสมรสในกรณีที่การทำสัญญาหรือข้อกำหนดใดเกี่ยวข้องกับการสมรสหรือไม่
หากไม่มีสัญญาสมรส โดยปกติจะถือว่าท่านได้สมรสภายใต้ระบบการแบ่งทรัพย์สิน
โดยรวมตามกฎหมาย ท่านสามารถเปลี่ยนระบบการแบ่งทรัพย์สินของคู่สมรสได้ แต่ต้องดำเนินการภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากการทำสัญญาสมรส อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนระบบทรัพย์สิน
หรือข้อตกลงของคู่สมรสมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3,000 ยูโร ดังนั้น จะเป็นการดีที่สุดหากท่านได้เลือกระบบการแบ่งทรัพย์สินของคู่สมรสให้ชัดเจนตั้งแต่แรกก่อนสมรส หากท่านไม่แน่ใจเกี่ยวกับความหมายนัยต่างๆ ของระบบการแบ่งทรัพย์สินของคู่สมรสในฝรั่งเศส ท่านควรขอคำปรึกษา
โดยตรงกับหน่วยงานศาลที่เกี่ยวข้องกับการสมรส (notaire)
การหย่าในประเทศฝรั่งเศส
อัตราการหย่าในประเทศฝรั่งเศสมีจำนวนน่าเป้นห่วง เช่นเดียวกับอัตราการหย่าในประเทศตะวันตกอื่นๆ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ (มากถึงร้อยละ 40) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยจำนวน
คู่สมรสที่หย่าร้างมีจำนวนมากถึงหนึ่งในสามของจำนวนคู่สมรสทั้งหมด (มีนิตยสาร การหย่า ซึ่งเป็นนิตยสารที่ขายดีที่สุดวางจำหน่าย) อย่างไรก็ดี อัตราการหย่าในประเทศฝรั่งเศสยังคงต่ำกว่าอัตราการหย่าในประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ท่านสามารถทำการหย่าภายใต้กฎหมายฝรั่งเศสเท่านั้น เมื่อคู่สมรสคนใดคนหนึ่งมีสัยชาติฝรั่งเศส หรือเมื่อคู่สมรสทั้งสองคนไม่ได้มีสัญชาติฝรั่งเศส แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส
การหย่าโดยความยินยอมร่วมกัน (divorce par consentement mutual หรือ divorce
Sur demande conjointe) ท่านจำเป็นต้องสมรสเป้นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ส่วนการหย่า
ประเภทอื่นๆ ได้แก่ คำร้องยอมรับการหย่าร้างซึ่งยังไม่นับเป็นข้อสรุป (divorce sur demande accept?e)ซึ่งการหย่าโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (divorce pour faute) เช่น การผิดประเวณี และยังมีการหย่าโดยสิ้นสุดชีวิตคู่สมรส หรือการหย่าเพื่อมิให้ละเมิดชีวิตสมรส (divorce pour rupture de la vie commune)
ไม่มีความจำเป็นจะต้องเปิดเผยมูลเหตุการหย่าวึ่งคู่กรณีทั้งสองต้องยินยอมร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ ในเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน การอุปการะเลี้ยงดูบุตร เงินอุปการะเลี้ยงดู
ภรรยาที่หย่าจากสามี รวมถึงเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหย่า โดยปกติ ผู้พิพากษามักเป้นผู้อนุมัติให้ทำการหย่าได้โดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าอาจใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 เดือน เพื่อพิจารณา
ไตร่ตรอง การหย่าจะมีผลสำเร็จสมบูรณ์ในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากศาลมีคำพิพากษา หรือ
ภายในระยะเวลา 2 เดือน หากมีการยื่นอุทธรณ์ กรณีใดซึ่งมีข้อโต้แย้ง ศาลฝรั่งเศสเป็นผู้ตีความ
และให้ข้อสรุปในแต่ละกรณี
PACS
คู่รักที่อาศัยอยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานฉันท์สามีภรรยา (รวมถึงบุคคลเพสเดียวกัน )
สามารถจดทะเบียนข้อสัญญาสมานฉันท์ pacte civile de solidarit? (PACS) ซึ่งคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละฝ่ายให้สิทธิคู่ชีวิตมีสิทธิในทรัพย์สินร่วมกัน และได้รับสิทธิในผลประโยชน์ทางภาษีรายได้ กรณีที่ท่านประสงค์จะจดทะเบียน PACS ท่านต้องไปที่หน่วยงานศาลแขวง tribute d instance ในเขตพื้นที่ (ซึ่งรายชื่อระบุอยู่ในสมุดโทรศัพท์) และทำหนังสือแสดงเจตจำนงว่าท่านประสงค์จะจดทะเบียนข้อสัญญาสมานฉันท์ PACS ภายใต้กฎหมายข้อสัญญาสมานฉันท์ PACS หมายเลขที่ 99-944 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) รวมถึงชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่รักของท่าน อย่างไรก็ดี ไม่มีรูปแบบมาตรฐานสำหรับการดำเนินการดังกล่าว
ท่านจำเป็นต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ใบสูติบัตร และใบรับรองจากหน่วยงานศาลแขวง tribunal d Instance เพื่อยืนยันสถานที่เกิด และประกาศคำสาบานตน (attestation sur l
Honneur) ว่าท่านได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง และไม่มีอุปสรรคอื่นใดเพื่อทำการจดทะเบียน ข้อสัญญาสมานฉันท์ PACS (เช่น ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมรสอยู่) คู่รักที่จดทะเบียนข้อสัญญาสมานฉันท์ PACS จะได้รับสิทธิในมรดกเช่นเดียวกับคู่สมรสทั่วไป
***บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหนังสือ "การใช้ชีวิตและการทำงานในประเทศฝรั่งเศส"***
|
|
ศูนย์ประชาบดี โทร 1300 |
|
ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วย เหลือสังคม โทร 0-2306-8951-2 |
|
ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยสังคม โทร 0-2306-8934-5 |
|
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้า มนุษย์ โทร 0-2642-7991-2 ต่อ 11 |
|
สหทัยมูลนิธิโทร 0-2381-8834-6, 0-2392-9397-8 |
|
สมาคมวางแผนครอบครัว โทร 0-2245-7382-5 |
|
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน โทร 0-2229-5803-7 |
|
คลินิกชุมชนเวชกรรม (ปรึกษาคลินิก หมอมีชัย) โทร 0-2229-4611-28 |
|
สมาคมเสริมสร้างครอบครัว โทร 1761, 0-2622-2220 |
|
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โทร 1111 |
|
ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ โทร 1548 |
|
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบ รัฐบาล โทร 1376 |
|
ร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา โทร 1676 |
|
สายด่วนนายกรัฐมนตรี โทร 0-2280-3000 |
|
ศูนย์บริการข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม โทร 1765 |
|
ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย โทร 1567 |
|
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) โทร 0-2287-3102 |
|
|
กระทรวงมหาดไทย |
|
|
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
|
|
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ |
|
|
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
|
|
กระทรวงการต่างประเทศ |
|
|
กระทรวงศึกษาธิการ |
|
|
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
|
|